กรมชล ประชุมร่วมกับคณะอนุฯ คาดน้ำทะเลหนุนเมษายนนี้ กำชับบริหารจัดการน้ำตามแผน

0
5879

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะโฆษกกรมชลประทานเปิดเผยภายหลังเป็นประธาการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ VDO Conference ไปยังผู้แทนจากกรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมไปถึงเครือข่าย SWOC ทั่วประเทศ เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำ และแนวทางการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งปี 2562/63 รวมทั้งการวางแผนการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง

กรมอุตุนิยมวิทยา ได้คาดการสภาพอากาศว่า ในช่วงวันนี้(30 มี.ค.63)ไปจนถึงวันที่ 6 เม.ย. 63 ทางตอนบนของประเทศไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะเกิดฝนฟ้าคะนองได้ โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญ อุดรธานี ขอนแก่น ชัยภูมิ จันทบุรีระยอง ตราด และ สระแก้ว ซึ่งเป็นพายุฤดร้อนส่งผลให้มีฝนตกและลมกระโชกแรงเกิดขึ้น หลังจากนั้นปริมาณฝนจะลดลงและอากาศจะร้อนขึ้น

ด้านสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ปัจจุบัน(30 มี.ค. 63)มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกัน 36,516 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) หรือร้อยละ 51 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 13,178 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์)       มีปริมาณน้ำรวมกัน 9,307 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 37 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 2,611      ล้าน ลบ.ม. คาดการณ์ว่า ณ วันที่ 1 พ.ค. 63 จะมีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 2,100 ล้าน ลบ.ม. สำหรับสำรองไว้ใช้ต้นฤดูฝนหรือกรณีฝนทิ้งช่วงในส่วนของผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งทั้งประเทศปัจจุบัน (30 มี.ค. 63) มีการใช้น้ำตามแผนฯไปแล้ว 14,098 ล้าน ลบ.ม.(แผนฯ 17,699 ล้าน ลบ.ม.) หรือร้อยละ 80 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำตามแผนฯไปแล้วประมาณ 3,790 ล้าน ลบ.ม.(แผนฯ 4,500 ล้าน ลบ.ม.) หรือร้อยละ 84ของแผนฯ

ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าแม้ในระยะที่ผ่านมาจะมีฝนตกลงมาบ้างในหลายพื้นที่ แต่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำและแม่น้ำสายหลักต่างๆ ยังคงอยู่ในเกณฑ์น้อย ซึ่งหากเป็นไปตามที่กรมอุตุนิยมคาดการณ์ไว้ว่า ในช่วงต้นเดือนเมษายจะมีฝนตกลงทางตอนบนของประเท คาดว่าจะทำให้สถานการณ์ภัยแล้งบรรเทาเบาบางลงไปได้บ้าง นอกจากนี้ ในช่วงวันที่ 7 10 เม.ย. และ 25 29  เมษายนนี้ จะเกิดภาวะน้ำทะเลหนุนสูง กรมชลประทาน ได้วางมาตรการในการป้องกันน้ำเค็มรุกล้ำ โดยการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 70 ลบ.ม./วินาที สำหรับใช้ในการเจือจางค่าความเค็มในแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะไม่กระทบต่อแผนการใช้น้ำที่วางไว้ ส่วนปริมาณน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันจะเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคไปจนถึงต้นฤดูฝนนี้แน่นอน จึงขอให้ทุกฝ่ายร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัดที่สุดด้วย