ชป.ปลื้มการแบ่งปันน้ำลุ่มน้ำคลองวังโตนด เกื้อกูลสร้างความมั่นคงให้พื้นที่ EEC

0
5776

กรมชลประทานเผย MOU แบ่งปันน้ำจากลุ่มน้ำคลองวังโตนดช่วยแก้วิกฤตภัยแล้งในพื้นที่ EEC ประสบผลสำเร็จ เปิดมิติใหม่ในการเกื้อกูลสร้างความมั่นคงในเรื่องน้ำให้กับประเทศ ได้ประโยชน์ทั้งพื้นที่แหล่งน้ำต้นทุนและพื้นที่ปลายน้ำ พร้อมเร่งเดินหน้าโครงการพัฒนาลุ่มน้ำคลองโตนดอย่างเต็มศักยภาพ

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทานเปิดเผยว่า จากการลงนามในบันทึกข้อตกลง(MOU) ระหว่างกรมชลประทานกับคณะกรรมการลุ่มน้ำคลองวังโตนด เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา เพื่อแบ่งปันน้ำจากลุ่มน้ำคลองวังโตนดไปยังพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC (Eastern Economic Corridor) ขณะนี้ได้สิ้นสุดการผันน้ำแล้ว ตามแผนที่ได้วางไว้โครงการนี้นอกจากจะช่วยสร้างความมั่นคงในเรื่องน้ำให้กับพื้นที่ 3 จังหวัด EEC คือ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ด้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ยังทำให้ประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำคลองวังโตนด 3 อำเภอของจังหวัดจันทบุรี คือ ท่าใหม่ นายายอาม และแก่งหางแมว ได้รับประโยชน์มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตรอย่างพอเพียงอีกด้วย นับเป็นการบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

สำหรับการแบ่งปันน้ำจากลุ่มน้ำคลองวังโตนดไปยังพื้นที่ EEC นั้น กรมชลประทานได้ดำเนินการส่งน้ำจาก–     อ่างเก็บน้ำประแกด .จันทบุรี ลงสู่คลองวังโตนด ก่อนจะใช้ฝายวังใหม่ยกระดับน้ำให้สูงขึ้น เพื่อให้สถานีสูบน้ำบ้านวังประดู่สูบน้ำส่งไปยังอ่างเก็บน้ำประแสร์ จ.ระยอง ได้ในอัตราวันละประมาณ 432,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ..) ตั้งแต่วันที่ 1 -25 มีนาคม 2563 รวมปริมาณน้ำที่ผันไปทั้งสิ้นประมาณ10 ล้าน ลบ.. จากนั้นจะใช้โครงข่ายอ่างพวงที่มีอยู่กระจายน้ำไปยังอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ EEC ไม่ว่าจะเป็นอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล อ่างเก็บน้ำดอกกราย และอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ เป็นต้น โดยไม่กระทบต่อการใช้น้ำในพื้นที่ท้ายอ่างเก็บน้ำประแกดและพื้นที่ลุ่มน้ำคลองวังโตนดแต่อย่างใด

ดร.ทองเปลวฯ กล่าวอีกว่า ในการยกระดับน้ำที่ฝายวังใหม่ให้สูงขึ้นนั้น นอกจากจะสูบน้ำไปยังอ่างฯประแสร์แล้ว ยังสามารถสูบน้ำไปยังพื้นที่ในเขตอ.แก่งหางแมว จ.จันทบุรี ห้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวมีน้ำใช้อย่างพอเพียง แม้ขณะนี้จะหยุดสูบน้ำไปอ่างฯประแสร์แล้วก็ตาม แต่ในส่วนของการสูบน้ำไปยังพื้นที่ .แก่งหางแมว ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่องไปจนกว่าจะเข้าสู่ฤดูฝน รวมทั้งภาคอุตสาหกรรมยังได้มีการจัดค่าดูแลสังคมสนับสนุนให้กับ 3 อำเภอในลุ่มน้ำคลอง–     วังโตนด จำนวน 5 ล้านบาท สำหรับใช้ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในปีนี้อีกด้วย

ความสำเร็จในการแบ่งปันน้ำในครั้งนี้ เกิดจากการบูรณาการความร่วมมือของทุกฝายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะชาวลุ่มน้ำคลองวังโตนด ที่เข้าใจสถานการณ์และความจำเป็นในการแบ่งปันน้ำเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับพื้นที่ EEC ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ ถือเป็นน้ำใจอันยิ่งใหญ่ และเป็นประวัติศาสตร์ที่จะต้องบันทึกไว้ถึงการสร้างมิติสัมพันธ์ของการแบ่งปันน้ำช่วยเหลือเกื้อกูลที่ดีของชาวจันทบุรีดร.ทองเปลว กล่าว

สำหรับลุ่มน้ำคลองวังโตนดครอบคุลมพื้นที่.ท่าใหม่ อ.นายายอาม และอ.แก่งหางแมวจ.จันทบุรี มีปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ย 1,237 ล้าน ลบ.. ปัจจุบันกรมชลประทาน อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาลุ่มน้ำคลองวังโตนด ด้วยการสร้างอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ต้นน้ำ 4 แห่ง ประกอบไปด้วย อ่างเก็บน้ำคลองประแกด ต.พวา อ.แก่งหางแมว ความจุประมาณ 60 ล้าน ลบ.. ขณะนี้ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ส่วนอ่างเก็บน้ำคลองหางแมว ต.ขุนช่อง อ.แก่งหางแมว ความจุประมาณ 80.70 ล้านลบ.. และอ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่ ต.พวา .แก่งหางแมว ความจุประมาณ 68.10 ล้าน ลบ.. อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2564 อีกแห่งคือ อ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด .วังสัมพันธ์ ต.ขุนช่อง อ.แก่งหางแมว ความจุประมาณ 99.50 ล้าน ลบ.. ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA) คาดว่าจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี  

หากการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ 4 แห่งตามแผนการพัฒนาลุ่มน้ำคลองวังโตนดแล้วเสร็จ จะสามารถเก็บกักน้ำต้นทุนรวมกันได้ถึง 308.50 ล้าน ลบ.. มีพื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 249,700 ไร่ ซึ่งจะทำให้ลุ่มน้ำคลองวังโตนดเป็นลุ่มน้ำตัวอย่างอีกลุ่มน้ำหนึ่ง ที่สามารถบริหารจัดการแก้ปัญหาเรื่องน้ำ ทั้งน้ำท่วม น้ำแล้ง และผลักดันน้ำเค็มได้อย่างมีประสิทธิภาพตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้ทั่วทั้งลุ่มน้ำ เสริมความมั่นคงในเรื่องน้ำให้กับลุ่มน้ำคลองวังโตนด ซึ่งเป็นแหล่งปลูกผลไม้ที่เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศ  ไม่ว่าจะเป็น ทุเรียน ลำไย มังคุด เงาะ หรือกล้วยไข่ สร้างรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 25,000 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังสามารถผันน้ำส่วนเกินส่งไปช่วยเสริมความมั่นคงให้กับพื้นที่ EEC ได้มากถึงปีละประมาณ 100 ล้านลบ.. ด้วย ดร.ทองเปลวฯ กล่าวในที่สุด