ชป.เดินหน้าบริหารจัดการน้ำตามแผนฯ เน้นใช้น้ำท่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด เร่งเก็บกักน้ำในอ่างฯให้มากที่สุด

0
7582

เช้าวันนี้(9 ก.ย. 63) ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะโฆษกกรมชลประทาน เป็นประธานในการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ VDO Conference ไปยังผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมทั้งสำนักงานชลประทานเครือข่าย SWOC ทั้ง 17 แห่งทั่วประเทศ ณ ห้องประชุมศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ อาคารหม่อมหลวงชูชาติ กำภู   กรมชลประทาน ถนนสามเสน

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า จากการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 8 -11 ก.ย. 63 ว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมควากดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน สหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ ให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 12 -14 ก.ย. 63 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทาให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง

สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ปัจจุบัน(9 ก.ย.63) มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 36,203 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 48 ของความจุอ่างฯ  เป็นน้ำใช้การได้ประมาณ 12,401 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 9,858 ล้าน ลบ.ม  หรือร้อยละ 40 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 3,162 ล้าน ลบ.ม. ด้านผลการจัดสรรน้ำฤดูฝนทั้งประเทศ ปัจจุบัน (9 ก.ย. 63) มีการใช้น้ำไปแล้ว 9,729 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 81 ของแผน เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำไปแล้ว 3,158 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 96 ของแผน คงเหลือปริมาณน้ำที่ต้องจัดสรรอีกเพียง92 ล้าน ลบ.ม. ภาพรวมสถานการณ์น้ำทั้งประเทศ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ส่วนใหญ่ยังคงมีจำนวนจำกัด เนื่องจากมีปริมาณฝนตกบริเวณเหนืออ่างฯต่ำกว่าค่าปกติ

กรมชลประทาน ได้กำหนดแผนบริหารจัดการน้ำภายใต้ภาวะเกณฑ์น้ำน้อย เน้นส่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคเป็นหลัก พร้อมบริหารจัดการน้ำท่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยได้เน้นย้ำให้สำนักงานชลประทานทั้ง 17 แห่งทั่วประเทศ บริหารจัดการน้ำด้วยความปราณีตและประหยัด พร้อมปรับเกณฑ์การระบายน้ำให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ควบคู่ไปกับการวางแผนป้องกันอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆรวมทั้งตรวจสอบความมั่นคงของเขื่อน อาคารชลประทาน เครื่องจักร เครื่องมือ และทางระบายน้ำ รวมทั้งกำจัดวัชพืช ผักตบชวา และสิ่งกีดขวางทางน้ำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำให้ดียิ่งขึ้น หากประชาชนหรือหน่วยงานใดต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ทางสายด่วนกรมชลประทาน โทร. 1460 หรือติดตามสถานการณ์น้ำได้ทาง http://water.rid.go.th/ และ www.rid.go.th