“ทองเปลวฯ” นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ติดตามน้ำในเขื่อนกระเสียว วอนทุกคนช่วยกันประหยัดน้ำ

0
4399

วันนี้(13 .. 62)ดร.ทองเปลว กองจันทร์  อธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วย ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน นายกฤษฎา ศรีเพิ่มพันธ์ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่12 และคณะผู้บริหาร นำคณะสื่อมวลสัญจรจากส่วนกลาง ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำ และแนวทางการบริหารจัดการน้ำในภาวะน้ำน้อย โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทานกล่าวว่า ตามการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาว่า ระหว่างเดือนธันวาคม 2562 ถึง เดือนเมษายน2563 บริเวณพื้นที่ประเทศไทยตอนบน จะมีปริมาณฝนต่ำกว่าค่าปกติร้อยละ     5 10 ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนทั่วประเทศ และแหล่งน้ำธรรมชาติ มีปริมาณน้ำลดน้อยลงไปด้วย  

กรมชลประทาน จำเป็นต้องวางมาตรการการบริหารจัดการน้ำทุกพื้นที่อย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ ไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า

โดยปัจจุบัน(13..62)เขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศมีปริมาณน้ำรวมกัน 48,337 ล้าน ลบ..หรือคิดเป็นร้อยละ 64 ของความจุอ่าง เป็นน้ำใช้การได้ 24,474 ล้าน ลบ.ม. สำหรับสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 11,451 ล้าน ลบ.. หรือร้อยละ 46 ของความจุอ่างฯรวมกัน  มีปริมาณน้ำใช้การได้รวม 4,755 ล้านลบ.. หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของปริมาณน้ำใช้การได้

ด้าน ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงฤดูแล้งปี2562/63 ลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้วางแผนจัดสรรน้ำจาก 4 เขื่อนหลัก ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 ถึงวันที่30 เมษายน 2563 รวมกันประมาณ 3,500 ล้านลบ.. และผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองมาเสริมอีก 500 ล้าน ลบ.. รวมทั้งสิ้น 4,000 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้(13.. 62) มีการนำไปใช้แล้วประมาณ 1,072 ล้านลบ.. คิดเป็นร้อยละ 27 ของแผนจัดสรรน้ำ ซึ่งกรมชลประทานจะทำการควบคุมการใช้น้ำให้เป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้อย่างเคร่งครัด ส่วนด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาในวันนี้(13 .. 62) ยังคงการระบายน้ำในอัตรา 80 ลบ..ต่อวินาที เพื่อรักษาระบบนิเวศด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยาลงมาจนถึงปากอ่าวไทย

ในส่วนของแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี2562/63 ได้วางแผนเพาะปลูกพืชทั้งประเทศ รวมทั้งสิ้น 2.83    ล้านไร่ แบ่งเป็น ข้าวนาปรัง 2.31 ล้านไร่พืชไร่พืชผัก 0.52 ล้านไร่ ปัจจุบัน(ข้อมูล วันที่ 11 .. 62) ได้ทำการเพาะปลูกทั้งประเทศรวม 1.46 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 51 ของแผนฯ แยกเป็นข้าวนาปรัง 1.39 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 60 ของแผนฯและพืชไร่พืชผักอีก 0.07 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 13 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่มีแผนการเพาะปลูกพืช เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนมีไม่เพียงพอต่อการสนับสนุนด้านการเกษตร แต่จากการสำรวจพบว่าบางพื้นที่ได้ทำการเพาะปลูกพืชนอกแผนฯ รวมเป็นพื้นที่ประมาณ 1.15 ล้านไร่ ส่วนใหญ่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ของตนเองในการเพาะปลูก

ทั้งนี้ ขอยืนยันว่า กรมชลประทาน จะดำเนินการจัดสรรน้ำตลอดช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 ให้เป็นไปตามแผนฯอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ และพืชที่ใช้น้ำน้อย ส่วนข้าวนาปรังเนื่องจากปริมาณน้ำมีไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก จึงไม่สามารถสนับสนุนได้ ต้องขอความร่วมแรงร่วมใจจากเกษตรกรลดพื้นที่การเพาะปลูกข้าวนาปรัง

รวมทั้ง ขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัดและเป็นไปตามแผนการจัดสรรน้ำที่วางไว้ เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอใช้ไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า