มกอช.เดินเครื่องมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ คุมเข้มคุณภาพ!!!

0
6148

มกอช. เดินเครื่องมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ คุมเข้มกระบวนการจัดการฟาร์มไก่ไข่ ลดเสี่ยงจากโรคอุบัติใหม่ ผลิตไข่ไก่ที่มีคุณภาพ ปลอดโรคพร้อมเพิ่มศักยภาพการแข่งขันทั้งตลาดในและต่างประเทศ  

ดร.จูอะดี พงศ์มณีรัตน์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ ในประเทศไทยประสบปัญหาเกี่ยวกับการเฝ้าระวังและการควบคุมโรคระบาด  การควบคุมความปลอดภัย และคุณภาพไขไก่ ดังเช่นเวลานี้ กำลังประสบปัญหาการแพร่ระบาดของของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 รวมทั้งการจัดการตลาดภายในประเทศ และการเปิดตลาดการค้าไข่ไก่ในต่างประเทศ จึงจำเป็นต้องมีการควบคุมกระบวนการจัดการฟาร์มไก่ไข่ที่เลี้ยงเพื่อการค้า จำนวนตั้งแต่ 1,000 ตัวขึ้นไป เพื่อยกระดับการปฏิบัติทางการเกษตรสำหรับฟาร์มไก่ไข่ให้ได้ไข่ไก่ที่ปลอดภัย มีคุณภาพ และเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการประกาศเรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ ตาม พ.ร.บ. มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 และมีการออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ เป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ.2563 มาตรฐาน เลขที่ มกษ. 6909-2562

ทั้งนี้ เพื่อให้มาตรฐานมีเนื้อหาทางวิชาการที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีการผลิต กฎระเบียบระหว่างประเทศและสถานการณ์การค้าที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงยกระดับคุณภาพการปฏิบัติ ของฟาร์มไก่ไข่ให้เหมาะสมโดยคนึงถึงความสคัญด้านสุขอนามัยสัตว์ คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ดังนั้น มกอช. ได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงจึงมีมติให้ปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานฉบับเดิม สหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาฟาร์มไก่ไข่ให้เป็นที่ยอมรับ ในการค้าทั้งในและระหว่างประเทศ

ษ. 69092562 มาตรฐานสินค้าเกษตรนี้ กำหนดการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ที่เลี้ยงไก่ไข่เพื่อการค้าจำนวนตั้งแต่ 1,000 ตัวขึ้นไป ครอบคลุมองค์ประกอบฟาร์ม การจัดการฟาร์ม อาหาร น้ำ การจัดการบุคลากร การจัดการสุขภาพสัตว์ การจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ การจัดการไก่รุ่น ไก่ระยะไข่และไข่ไก่ การจัดการสิ่งแวดล้อม การบันทึกข้อมูล เพื่อให้ได้ไข่ไก่ที่ปลอดภัย มีคุณภาพ เหมาะสมในการนำไปบริโภคเป็นอาหาร

อย่างไรก็ดี ผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตร จะต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้า ากผู้ใดฝ่าฝืน ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 3 แสนบาท โดยสามารถยื่นคำขอรับใบอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของ มกอช. ได้ที่เว็บไซต์ http://tas.acfs.go.th ของระบบ TAS-License หรือผ่าน NSW และทำการลงทะเบียนสมาชิกเพื่อเข้าใช้งานระบบ

รวมทั้งผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้า จะต้องขอรับการตรวจสอบและได้ใบรับรองตามมาตรฐานบังคับจากผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐาน หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท และถูกเพิกถอนใบอนุญาต โดยผู้ที่ประสงค์จะขอรับการตรวจสอบเพื่อขอรับใบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร สามารถยื่นคำขอได้ที่ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ หรือผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานที่ได้รับใบอนุญาตให้ตรวจสอบและรับรองมาตรฐานจาก มกอช.

ปัจจุบันประเทศไทย มีฟาร์มไก่ไข่ทั่วประเทศ 2,941 ฟาร์ม แบ่งเป็น ฟาร์มที่ได้รับมาตรฐาน GAP จำนวน 1,536 ฟาร์ม และไม่ได้รับมาตรฐาน GAP 1,405 ฟาร์ม แบ่งขนาดฟาร์มเลี้ยงไก่ไข่ตามการบังคับเป็น 3 ขนาด คือ 1.ฟาร์มที่เลี้ยงไก่ไข่ 1-999 ตัว จำนวน 422 ฟาร์ม ไม่อยู่ในขอบข่ายการบังคับของมาตรฐาน 2.ฟาร์มที่เลี้ยงไก่ไข่ 1,000 ตัว – 99,999 ตัว จำนวน 2,448 ฟาร์ม ต้องเข้าสู่การบังคับใช้ภายใน 5 ปี และ3.ฟาร์มที่เลี้ยงไก่ไข่ตั้งแต่ 100,000 ตัวขึ้นไป จำนวน 71 ฟาร์ม ต้องเข้าสู่การบังคับใช้ภายใน 1 ปีเลขาธิการ มกอช. กล่าว