รุกต่อ! จุรินทร์ นำพาณิชย์-การยาง จัดจับคู่ธุรกิจยางพารา เพิ่มตลาดใหม่ พร้อมเร่งรัดส่งมอบสัญญาเดิม กระตุ้นการรับซื้อ

0
7965

วันที่ 1 ตุลาคม 2563 เวลา 10.00 น.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ นายสมเด็จ สุสมบูรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และคณะเยี่ยมชมการจับคู่เจรจาธุรกิจออนไลน์สินค้ายางพาราและ ผลิตภัณฑ์ยาง และประชุมเพื่อรับฟังข้อคิดเห็นจากสหกรณ์ ผู้ผลิตยางพารา ณ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ จากนั้นได้ประชุมแบบไฮบริดทั้งวงประชุมกับสหกรณ์ยางพารา การยางฯ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ร่วมกับการออนไลน์บริษัทเอกชน ทูตพาณิชย์ประเทศเป้าหมายและผู้เกี่ยวข้อง

นายจุรินทร์ กล่าวว่า สำหรับราคายางในประเทศขณะนี้ราคายางแผ่นรมควัน กิโลกรัมละ 58 – 59 บาท ยางแผ่นดิบ กิโลกรัมละ 56 บาท น้ำอย่างข้นกิโลกรัมละ 50 บาท ยางก้อนถ้วยกิโลกรัมละ 19 – 20 บาท ราคา F.O.B. คือราคาส่งออก ณ ท่าเรือของประเทศไทย สำหรับยางแผ่นรมควันราคาเมื่อวานมากกว่า 63.15 บาท สวนยางแผ่นดิบ 56.31 บาทน้ำยางข้น 51.50 บาท ยางก้อนถ้วย 20 บาท เหตุผลที่ราคายางช่วงนี้สูงขึ้นมาจาก 2 เหตุผลใหญ่ 1.มาตรการเชิงรุกของรัฐบาล 2.ตลาดโลกมีความต้องการอย่างมากขึ้น สำหรับตลาดโลกนั้นเพราะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวขึ้นมาบ้าง ความต้องการรถยนต์และยางรถยนต์ก็เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ความต้องการยางแผ่นและยางแท่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่งนสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลให้ความต้องการถุงมือยางธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ความต้องการน้ำยางที่เอาไปทำถุงมือยางธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นไปด้วย

ด้านมาตรการเชิงรุกของรัฐบาล มี 2 มาตรการ คือ เพิ่มการใช้ยางภายในประเทศ โดยเฉพาะส่งเสริมให้ภาคราชการนำยางไปเป็นวัตถุดิบทำผลิตภัณฑ์ โดยล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบให้กระทรวงเกษตรฯร่วมกับกระทรวงคมนาคมนำยางไปทำหลักกิโลและแผ่นครอบกันชนตามเส้นทางในถนนต่างๆที่จะช่วยเพิ่มการใช้ยางในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นอันมากและมาตรการภาครัฐ และมาตรการในการเร่งรัดการส่งออก เร่งรัดการส่งมอบซึ่งกระทรวงพาณิชย์นำไปทำสัญญาไว้กับต่างประเทศก่อนโควิด-19 โดยกระทรวงพาณิชย์ร่วมมือกับการยางฯ ส่งผลให้การส่งออกยางตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม ปีนี้ มียอดส่งออกแล้วประมาณ 300,000 ล้านบาท ส่วนกระทรวงพาณิชย์กับการยางก็จำได้มีการเร่งรัดการส่งมอบ

” ที่ผมนำคณะเอกชน การยางฯ ไปทำสัญญากับต่างประเทศจำนวน 500,000 ตันโดยประมาณในช่วงก่อนโควิดนั้นได้ถ้ามีการเร่งรัดการส่งมอบจะเป็นอีกมาตรการหนึ่ง รวมทั้งภาคเอกชนที่ไปทำสัญญาเดิมกับการที่จะเร่งรัดการทำตลาดในสัญญาใหม่ด้วย”

นายจุรินทร์ กล่าวว่า วันนี้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศร่วมมือกับการยางแห่งประเทศไทยและภาคเอกชนในการจับคู่ธุรกิจเพื่อเร่งรัดการส่งออกยางของไทย ตั้งแต่วันที่ 23 กันยายนจนถึงวันนี้ ได้มีการจับคู่ธุรกิจไปแล้ว ถึง 69 คู่ มีการเจรจาระหว่างประเทศผู้นำเข้าทั้งหมด 20 ประเทศ และผู้ส่งออกของไทย 42 ราย 20 ประเทศประกอบด้วย จีน เกาหลี ไต้หวัน อินเดียย เช็ก ฝรั่งเศส ฮังการี รัสเซีย สหราชอาณาจักร มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม เมียนม่า อินโดนีเซีย ตุรกี อียิปต์ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐและอาร์เจนตินา ในการเซ็นสัญญาซื้อขายมียอดขายเกินเป้าทะลุไปถึง 23,000 ตัน และสามารถลงนามในสัญญา 1,450 ล้านบาท ยังมีความต้องการซื้อยางจากไทยเพิ่มเติมอีกงานจับคู่ธุรกิจครั้งนี้ก็จะขยายไปอีก 2 วันคือวันนี้และวันพรุ่งนี้ ซึ่งคาดว่าจะทำยอดขายได้เพิ่มเติมอีกและจะมีการแถลงผลการเจรจาให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง

สำหรับปัญหาการผลิตของเรามีเรื่องการขาดแคลนแรงงานซึ่งภาคการผลิตก็สะท้อนมา ประกอบกับราคายางในประเทศไทยสูงกว่าประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม ต่อไปการยางต้องเร่งประชาสัมพันธ์คุณภาพอย่างไทยให้เป็นที่รับรู้ของโลกว่าคุณภาพของเราเหนือกว่าประเทศคู่แข่งเกือบทุกประเทศ และสิ่งที่การยางดำเนินการนั้นตนเห็นด้วยคือการส่งเสริมให้มีการนำน้ำยางมาทำยางรถยนตร์ เพราะในอดีตไทยเรานี้ให้การใช้อย่างแผ่นกับยางแท่งไปทำยางรถยนต์ซึ่งต้องผ่านกระบวนการผลิตหลายขั้นตอน แต่ถ้าเราสามารถส่งเสริมให้นำน้ำยางไปทำยางรถยนตร์ได้ก็จะลดขั้นตอนการผลิตของเกษตรกรลงไปได้ แก้ปัญหาแรงงานที่ขาดแคลนได้ด้วย และขณะนี้การยางตั้งหน่วยรักษาเสถียรภาพราคายาง ส่วน กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายในมีมาตรการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อตรวจสต๊อกของเอกชน ให้เร่งการรับซื้อยาง เพราะมีเอกชนบางส่วนใช้สิทธิ์เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่รัฐบาลอุดหนุนร้อยละ 2 ต่อปีมีการรับซื้อยางเก็บสต๊อกจริงหรือไม่ ซึ่งจะมีส่วนให้มีการเร่งซื้อยางเข้าสต๊อกมากขึ้น