สทนช.ถกด่วนบูรณาการข้อมูล แก้น้ำท่วมอุบลฯยั่งยืน

0
1545

สทนช.ถกด่วนบูรณาการข้อมูล แก้น้ำท่วมอุบลฯยั่งยืน

สทนช.ถกหน่วยเกี่ยวข้อง-นักวิชาการบูรณาการข้อมูล พร้อมหาทางแก้ไขน้ำท่วมลุ่มน้ำชี-มูลตอนล่างอย่างยั่งยืน ชี้ล่าสุดเคาะยอดน้ำคงเหลือ จ.อุบลฯ หลังระดมงัดแผนจัดการน้ำส่งผลปริมาณน้ำค้างลดฮวบ คงเหลือ 940 ล้าน ลบ.ม. คาดสิ้นเดือน ก.ย.ระดับน้ำสถานี M.7อ.วารินชำราบ ลดเท่าระดับตลิ่ง

 ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 07.00 น.วันนี้ (19 ก.ย.62) สทนช.ได้เชิญหน่วยงานเกี่ยวข้อง 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย กรมชลประทาน สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ ดร.เจษฎา แก้วกัลยา ดร.สุวัฒนา จิตตลดากร และดร.ณัฐ มาแจ้ง เพื่อหารือสถานการณ์ วิเคราะห์แนวโน้มผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วมในจังหวัดอุบลราชธานี และบูรณาการข้อมูลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งตามที่ร่วมกันพิจารณาและประเมินสถานการณ์ในลำน้ำมูลตอนล่างจากทุกหน่วยงานเกี่ยวข้องมีความสอดคล้องตรงกัน คือ ระดับน้ำมีทิศทางที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งจากการประเมินสถานการณ์ล่าสุด พบว่า มวลน้ำที่คงค้างในพื้นที่ในตอนบนของลุ่มน้ำชี และมูล ส่วนใหญ่ใน จ. อุบลราชธานี ศรีษะเกษ ยโสธร ร้อยเอ็ด จ.อุบลราชธานี อยู่ที่ประมาณ 900 1,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะส่งผลทำให้ระดับน้ำที่สถานี M.7 อ.วารินชำราบ จะใช้เวลาประมาณ 11 18 วัน จะลดลงใกล้เคียงหรือเทียบเท่าระดับตลิ่ง ซึ่งหมายความว่าสถานการณ์ผลกระทบน้ำท่วมในพื้นที่ อ.วารินชำราบและอ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี โดยส่วนใหญ่ก็น่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ทั้งนี้ สถานการณ์น้ำแม่น้ำมูลในสถานีวัดน้ำหลักของแม่น้ำมูลล่าสุด เมื่อเวลา 06.00 น. และแนวโน้มคาดการณ์ดังนี้ สถานี M.182 อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ ระดับน้ำ 10.39 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 0.21 เมตร แนวโน้มลดลงวันละ 510 เซนติเมตร  สถานี M.176 อ.กันทรารมย์ จ.อุบล ระดับน้ำ 7.07 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 2.13 เมตร แนวโน้มลดลง 1520 เซนติเมตร/วัน  สถานี E98 อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำ 11.28 ม. สูงกว่าตลิ่ง 1.28 เมตร แนวโน้มลดลง 1015 เซนติเมตร/วัน  สถานี M.7 อ.วารินชำราบ จ. อุบลฯ  ระดับน้ำ 10.24 ม. สูงกว่าตลิ่ง 3.24 เมตร อัตราการไหล 4,170ลบ.ม.ต่อวินาที แนวโน้มลดลง 1520 เซนติเมตร/วัน และสถานี โขงเจียม ต่ำกว่าตลิ่ง 4.49 เมตร และเมื่อเทียบระดับแม่น้ำโขงกับระดับน้ำ อ.เมืองอุบล ต่ำกว่าประมาณ 16เมตร

 

สำหรับมาตรการบริหารจัดการน้ำ และการเร่งระบายน้ำ ขณะนี้แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1 ระยะเร่งด่วน โดยการควบคุมปริมาณการไหลของน้ำโดยใช้เขื่อนในลำน้ำชี และมูล เพื่อหน่วงน้ำ ชะลอน้ำ และลดการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและขนาดใหญ่ ทั้งในลุ่มน้ชีและมูล เพื่อลดปริมาณน้ำหลาก 2 ระยะสั้น จัดหาแก้มลิง และทุ่งรับน้ำหลากบริเวณสองฝั่งลำน้ำชี และลำน้ำยัง ในลักษณะรูปแบบบางระกำโมเดล 3 ระยะกลาง โครงการขุดลอกคลองเชื่อมต่อแนว ตะวันตก – ออก เพื่อดึงน้ำออกจากลำน้ำชี ยัง และโครงการผันน้ำชีลงแก้มลิง เพื่อหน่วงน้ำและลดน้ำหลากบริเวณลุ่มน้ำชี และ 4 ระยะยาว โครงการศึกษาผันน้ำชี ลงแม่น้ำโขง เพื่อศึกษาแนวทางเลือกผันน้ำเลี่ยง อ.เมืองอุบลราชธานี เพื่อลดอุทกภัย ณ จุดบรรจบแม่น้ำชี -มูล อ.เมือง และ อ.วารินชำราบ

นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้เกิดอุทกภัยบริเวณกว้างใน จ.อุบลราชธานี เนื่องจากพื้นที่ลุ่มน้ำ/แก้มลิงธรรมชาตตื้นเขิน การสร้างพนังคันกั้นน้ำ บุกรุกทางน้ำ และสิ่งกีดขวางทางน้ำ ซึ่งเป็นอุปสรรคการไหลของน้ำ ประกอบกับอิทธิพลของพายุคาจิกิส่งผลให้มีฝนตกหนักบริเวณ จ.ยโสธร และจ.อุบลราชธานี ทำให้ปริมาณน้ำในลำเซบก และลำโดมใหญ่ที่ไหลลงแม่น้ำมูลมีปริมาณเพิ่มขึ้น รวมถึงด้านท้าย อ.เมือง ปริมาณน้ำเพิ่มสูงรวดเร็วเฉลี่ยวันละ 75 เซนติเมตร ภายใน 2 วัน น้ำถึงตลิ่ง เมื่อเทียบกับระดับน้ำในช่วงเดียวกันเมื่อปีที่ผ่านมา ดังนั้น จะเห็นได้ว่าสถิติข้อมูลเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การคาดการณ์เป็นไปยากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม สทนช.จะบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาหลักเกณฑ์ทางวิชาการในการคาดการณ์ และประเมินสถานการณ์ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เพื่อนำไปสู่การหามาตรการเชิงป้องกันและลดผลกระทบ รวมถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาเพิ่มเติมในอนาคตทั้งระยะเร่งด่วน และระยะยาว โดย สทนช.จะเร่งดำเนินการทำแผนหลักแก้ไขปัญหาระยะยาวตามที่หลายฝ่ายได้เสนอแนะ ในปี 2563 เพื่อบรรจุในแผนปฏิบัติการเสนอกรรมการลุ่มน้ำ และคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) โดยเร่งด่วนต่อไป

 

#AllnewsExpress #สทนช.