กระทรวงสาธารณสุข ขอให้ประชาชนที่อยู่ใกล้สถานที่กักกันกลุ่มเสี่ยงของรัฐ มั่นใจ เชื้อโควิด-19ไม่แพร่ออกจากที่พักไปติดประชาชนภายนอกได้ ขอให้เข้าใจและอย่าต่อต้าน เนื่องจากสถานที่พักมีการดูแล คัดกรอง คุ้มเข้มจากเจ้าหน้าที่ / ขณะที่กรมอนามัย แนะประชาชนนำของบริจาคช่วงโควิด-19 ปรับการแจกสิ่งของ ให้เป็นระเบียบ มีระยะห่าง1-2เมตร ลดการแออัด ห่างไกลโควิด-19
ที่กระทรวงสาธารณสุข ศูนย์แถลงข่าวสถานการณ์ไวรัสโคโรนา 2019 นพ. เอนก มุ้งอ้อมกลาง ผู้อำนวยการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง ระบุถึงการกักตัวกลุ่มเสี่ยง State quarantine ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญหลักในการหยุดการระบาดของเชื้อในประเทศ ไม่แพร่กระจายเป็นวงกว้าง / ซึ่งเป็นการกักตัวของกลุ่มเสี่ยงที่มาจากต่างประเทศ ตามสถานที่ที่รัฐจัดไว้ให้ หากสามารถจัดการกลุ่มเสี่ยงได้ให้อยู่ในการกักตัวระยะเวลา 14วันอยู่อย่างปลอดเชื้อ ไม่แพร่เชื้อไปยังกลุ่มคนอื่น จะทำให้จำนวนเคสในประเทศไทยลดลงได้
State quarantine สถานที่กักกันของภาครัฐ ตอนนี้ มี14 แห่ง ทั่วประเทศ กรุงเมพมหานคร 10แห่ง และพื้นที่ต่างจังหวัด4แห่ง มีประชาชน 1,478 คน ที่ถูกกักกันตัว
พบการติดเชื้อ9ราย โดยกลุ่มคนเหล่านี้ จะเริ่มคัดรอง อาการ ตั้งแต่สนามบิน เก็บตัวอย่าง สุ่มตรวจที่สนามบิน
หากพบ ไม่ป่วย จะถูกนำเข้าสู่โรงแรมกักตัว14วัน มีการคัดกรองอาการซ้ำอีกครั้ง / หากมีอาการจะส่งตรวจเชื้อซ้ำ /หากผลจสกห้องปฏิบัติการเป็นลบ จะถูกกักตัวที่โรงแรมจนครบ14วัน/ หากผลเป็นบวกติดเชื้อ จะนำตัวเข้าสู่ระบบการรักษาทันที
ส่วน Local quarantine ทั่วประเทศตอนนี้มี 1,192 แห่งมีประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่เฝ้าระวัง 3,506 ราย พบการติดเชื้อ62ราย
ขอให้พี่น้องประชาชนที่อยู่ข้างสถานที่กักตัวให้ความร่วมมือ อย่าได้รังเกียจ ต่อต้าน ยืนยัน มีความปลอดภัย และเชื้อโควิด-19ไม่สามารถแพร่ออกจากห้องได้ เนื่องจากการแพร่เชื้อยังคงต้องมาจากการสัมผัสสารคัดหลั่ง และทุกรายที่เข้ามา1ห้องนอน1คน
ส่วนมาตรการตรวจหาเชื้อแบบเชิงรุก หรือ Active Case Finding ด้วยวิธี RT-PCR ที่นำร่องในเขตบาเขนและคลองเตย โดยข้อมูลการตรวจในเขตบางเขน ทำการเน้นตรวจหาผู้ติดเชื้อในกลุ่มเปราะปราง และกลุ่มอาชีพเสี่ยง เช่น มอเตอร์ไซค์รับจ้าง คนขับรถโดยสารประจำทาง คนในชุมชนแออัด แม่ค้าพ่อค้า ซึ่งได้ตรวจหาเชื้อไปแล้ว 1,876 ราย โดยในจำนวนนี้ 1,000ราย มี อาการ ไข้ ไอ เจ็บคอมีน้ำมูก แต่มีเพียง1 คนที่ติดเชื้อโควิด19
โดยในสัปดาห์หน้าจะมีการตรวจในพื้นที่คลองเตย และจะมีการขยายการตรวจ เพิ่มในพื้นที่ที่เคยมีการแพร่ระบาดของเชื้อ เช่น พื้นที่ทองหล่อ เป็นต้น
.
ขณะที่ แพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย ได้อธิบายถึงแนวทางการบริจาคของที่ปลอดภัย ปลอดเชื้อโควิด19 โดย แนะนำให้ประชาชนที่จะนำของมาบริจาค ขอให้คำนึงถึงความสะอาด ปลอดภัย และให้คำนึงถึงการไม่ให้มีการรวมตัวของคนหมู่มากโดยไม่มีการจัดระเบียบ และการสัมผัสใกล้ชิด หากไม่มีการจัดระเบียบ มีระยะห่าง อาจนำไปสู่การติดเชื้อได้
ทั้งนี้ ผู้บริจาคควรแจ้งเจ้หน้าที่ของรัฐที่ดูแลพื้นที่ / มีจุดการคัดกรองผู้ที่จะมารับของ รับอาหาร / จัดบริเวณล้างมือ หรือ เจงแอลกอฮอล์/ จัดพื้นที่ให้มีระยะห่างในการรับของ1-2เมตร/จัดในพื้นที่โล่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก/จัดระบบเข้าออกไม่ให้แออัด เช่น จัดเป็นรอบๆ
อย่างไรก็ตาม ผู้ปรุงอาหาร ผู้ตัดอาหารและผู้ให้บริการ ต้องสวมหน้ากากอนามัย ถุงมือและผ้ากันเปื้อน หากมีอาการเจ็บป่วยไอให้หยุดปฏิบัติงานทันที และให้ล้างมือก่อนปรุงอาหารและหลังปรุงอาหาร
.
ขณะที่ นพ. อนุพงศ์ สุจริยกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค ระบุว่า จำนวนผู้ป่วยที่รักษาหายกลับบ้านเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มาจาการการปรับแนวทางการให้ยาฟาวิพิลาเวียร์ ในผู้ป่วยเร็วขึ้น ทำให้จำนวนผู้ป่วยที่รักษาหายแล้วกลับบ้านในปัจจุบันมีมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ส่วนจำนวยยาฟาวิพิลาเวียร์ ที่มีอยู่ในประเทศขณะนี้ 1แสน8หมื่น7พันเม็ด ใช้รักษาผู้ป่วยโควิดทั่วประเทศ 682 ราย /คงเหลือยาในคลังประมาณแสนเม็ด /เหลือยาในระดับในจังหวัด 3หมื่นเม็ด
โดย องค์การเภสัชกรรม ยืนยัน ยาฟาวิพิลาเวียร์เพียงพอต่อการรักษาจำนวนผู้ป่วยในปัจจุบัน
อนาคต องค์การเภสัชกรรมมีแผนในการจัดซื้อยาฟาวิพิลาเวียร์ จากประเทศญี่ปุ่น อีก1แสนเม็ด และจากจีนอีก2แสนเม็ด