กรมชลประทาน เดินหน้าพัฒนาการดำเนินงานภายใต้เเนวคิด“RID No.1 Express 2020”

0
7125

กรมชลประทาน ยึดหลักการดำเนินงานตามแนวคิด RID NO.1 หลังประสบผลสำเร็จมาแล้ว 2 ปี เดินหน้าต่อยอดผลงานปี 63 ด้วย RID No.1 Express 2020 เร่งสร้างความมั่นคงทางด้านน้ำอย่างยั่งยืน

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทานเปิดเผยว่า ความก้าวหน้าการดำเนินงานตามแนวทาง RID No.1   (ปี .. 2561-2563) ประกอบด้วย 7 แนวทาง ดังนี้ 1.เร่งรัดการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งดำเนินการทั้งหมด 3,423 โครงการ ดำเนินการเเล้วเสร็จ3,175 โครงการ และอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 55 โครงการ 2. ปรับปรุงกระบวนการจัดทำแผนงานเเละงบประมาณทั้งระบบ โดยจัดทำแผนเเม่บทพัฒนาลุ่มน้ำระดับจังหวัด กลุ่มจังหวัด เเละภาคปรับปรุงการจัดทำแผนงานระยะปานกลาง(MTEF) จัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กรมชลประทาน เเละริเริ่มเเนวทาง PPP (Public Private Partnership) เป็นการร่วมทุนภาครัฐและเอกชนมาใช้ในการทำงานชลประทาน 3. เร่งรัดการพัฒนาแหล่งน้ำเเละเพิ่มพื้นที่ชลประทานโดยเร่งดำเนินการโครงการชลประทานขนาดใหญ่ขนาดกลาง ขนาดเล็ก ให้เป็นไปตามแผน รวมถึงการพัฒนาระบบการเเพร่กระจายน้ำในระดับแปลงนาให้ครอบคลุม เเละจัดทำแผนงานรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) 4. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ำ ต่อยอดศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะให้สามารถพยากรณ์เเละเตือนภัยได้อย่างเเม่นยำ ปรับปรุงโครงการชลประทานที่มีอายุการใช้งานมานานให้สอดคล้องกับสภาพการใช้งานปัจจุบัน สร้างทางเลือกในการดำเนินการส่งน้ำเเละบำรุงรักษาในงานชลประทาน ตรวจสอบวิเคราะห์ความมั่นคงของเขื่อน ให้มีความมั่นคงเเข็งเเรง วางแผนเตรียมการรับมืออุทกภัยเเละภัยเเล้ง เเละการบูรณาการความร่วมมือกับ SC ในดับพื้นที่ การพัฒนาสถานีทดลองการใช้น้ำชลประทานให้เป็นศูนย์การเรียนรู้อีกทั้งตรวจสอบการใช้พื้นที่ราชพัสดุเเละแก้ปัญหาการบุกรุกของราษฎร รวมไปถึงการใช้พื้นที่เขตคลองเป็นพื้นที่แก้มลิงเเละขยายผลพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในยามวิกฤติ ตลอดจนการพัฒนาศูนย์ศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของประชาชน 5. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยให้ความสำคัญในทุกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำ สร้างขวัญและกำลังใจให้กับผู้ประสบภัยจากน้ำ เร่งรัดการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำคณะกรรมการจัดการน้ำชลประทาน (JMC) และอาสาสมัครชลประทาน ให้เต็มพื้นที่ชลประทานตลอดจนการทบทวนการดำเนินงาน 1 โครงการ 1 ล้านบาท 6. นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการปฏิบัติงาน ทั้งการพัฒนาเเหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำ เเละการพัฒนาระบบงานให้เข้าสู่ Digital Platform และ 7. ดำเนินการพัฒนาองค์กรอย่างเป็นระบบ มีการปรับโครงสร้างหน่วยงานและปรับปรุงระดับตำเเหน่งของบุคลากรให้สูงขึ้น

ทั้งนี้ อธิบดีกรมชลประทาน ได้กล่าวถึง การดำเนินงานตามแนวทาง RID No.1 ที่ได้เกิดการพัฒนา ต่อยอด ขยายผล มาเป็นRID No.1Express 2020” ภายใต้กรอบเวลาของปีงบประมาณ 2563 บนเเนวคิดทำงานสุดกำลังตั้งมั่น สุจริต ใช้ชีวิตพอเพียง อันประกอบด้วย 6 กิจกรรม ดังนี้ 1. เร่งรัดการดำเนินงานโครงการตามพระราชดำริ สนับสนุนงบประมาณในการศึกษา สำรวจ ออกแบบ ก่อสร้าง จำนวน 216 โครงการ โดยเร่งรัดให้เเล้วเสร็จภายในปี 2563 2. การร่วมทุนภาครัฐเเละเอกชนในการทำงานชลประทาน โดยพัฒนา ต่อยอด โครงการประชารัฐร่วมทุนภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnerships : PPPs) การปรับปรุง...ชลประทาน .. 2485 ให้แล้วเสร็จ และต่อยอดระบบส่งน้ำและกระจายน้ำระดับแปลง การขุดลอกเพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำทั้งประตูระบายน้ำ แก้มลิง อาคารบังคับน้ำ 3. พัฒนาระบบแพร่กระจายน้ำในระดับแปลงนาให้ครอบคลุม โดยมุ่งการจัดรูปที่ดินและจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม ในปี 2563 มีการกำหนดเป้าหมายเเละปรับปรุงพื้นที่จัดระบบชลประทานในไร่นา จำนวน 86,300 ไร่ 4.โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(EEC) โดยปรับปรุงเเหล่งน้ำเดิม 7 แห่ง พัฒนาเเหล่งน้ำใหม่ 4 แห่ง เชื่อมโยงแหล่งน้ำและระบบผันน้ำ 4 แห่ง สูบกลับท้ายอ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง การป้องกันน้ำท่วม 4 แห่ง 5. เร่งรัดการจัดตั้งคณะกรรมการจัดการชลประทาน (JMC) และอาสาสมัครชลประทาน ให้เต็มพื้นที่ชลประทาน โดยมีเป้าหมาย ให้คณะกรรมการจัดการชลประทาน 26 คณะ ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน 581,435 ไร่ อาสาสมัครชลประทาน 844 คน จัดตั้งเเล้วเสร็จ (รวม4,212) ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน 2,110,000 ไร่กลุ่มผู้ใช้น้ำ 1017 กลุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน810,857 ไร่ เเละกลุ่มบริหารการใช้น้ำชลประทาน121 กลุ่ม ครอบคลุมพื้นที่ชลประทาน 1,492,330 ไร่6. เร่งรัดการปรับโครงสร้างหน่วยงานและปรับปรุงระดับตำเเหน่งบุคลากรให้สูงขึ้น

กรมชลประทาน ได้มุ่งมั่นดำเนินงานขับเคลื่อนภารกิจให้สอดคล้องและมุ่งผลสัมฤทธิ์ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี นโยบายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นโยบายรัฐบาล และยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี ภายใต้แนวทาง RID No.1 และการพัฒนาต่อยอด กับเเนวทาง RID No.1 Express 2020 โดยมุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงาน ทั้งการบริหารจัดการน้ำ พัฒนาแหล่งน้ำและเพิ่มพื้นที่ชลประทาน การพัฒนาบุคลากรรวมทั้งการพัฒนาระบบงานให้ทันสมัยมากขึ้น เพื่อให้ประชาชน และเกษตรกร ได้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น