ชป.ย้ำน้ำใน 4 เขื่อนหลักเจ้าพระยา อยู่ในเกณฑ์น้อย เหตุฝนตกเหนือเขื่อนยังน้อย

0
7053

กรมชลประทาน ย้ำบริหารจัดการน้ำในเขื่อนตามสภาวการณ์ที่เกิดขึ้นจริง เหตุฝนตกเหนืออ่างเก็บน้ำยังอยู่ในเกณฑ์น้อย ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯน้อยตามไปด้วย จำเป็นต้องสงวนน้ำไว้ใช้อุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ ส่วนภาคการเกษตรขอให้ใช้น้ำฝนเป็นหลัก

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศว่า ปัจจุบัน(23 มิ.. 63) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกันประมาณ 32,235 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ประมาณ 8,587 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 7,682 ล้าน ลบ.ม.(ปี 62 มีน้ำรวมกัน 9,407 ล้าน ลบ.ม.) หรือร้อยละ 31 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ประมาณ 986 ล้าน ลบ.ม.(ปี 62 มีน้ำใช้การได้ 2,711 ล้าน ลบ.ม.) จะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำในปีนี้น้อยกว่าปี 2562 ที่ผ่านมาถึง 1,725 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำที่มีอยู่จึงสามารถสนับสนุนได้เพียงการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศเป็นหลัก

ทั้งนี้ จากการติดตามสภาพฝนที่ตกในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำพบว่าปริมาณฝนที่ตกในลุ่มน้ำปิง วัง ยม และน่าน ยังอยู่ในเกณฑ์ไม่มากนัก ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาน้อยตามไปด้วย ซึ่งตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา(17-23 มิ.ย. 63) 4 เขื่อนหลัก มีน้ำไหลลงอ่างฯรวมกันเพียง 119.94 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ค่าเฉลี่ยน้ำไหลลงอ่างฯรวมกัน ควรจะอยู่ที่ประมาณ 197 ล้าน ลบ.ม. แยกเป็น เขื่อนภูมิพล มีน้ำไหลลงอ่างฯ 5.44       ล้าน ลบ.ม. มีน้ำใช้การได้ 222 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 2 ของน้ำใช้การได้ เขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำไหลลงอ่างฯ 101.19 ล้าน ลบ.. มีน้ำใช้การได้ 508 ล้าน ลบ.. หรือร้อยละ 8 ของน้ำใช้การได้เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีน้ำไหลลงอ่างฯ 8.96 ล้านลบ..   มีน้ำใช้การได้ 150 ล้าน ลบ.. หรือร้อยละ17 ของน้ำใช้การได้ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีน้ำไหลลงอ่างฯ 4.35 ล้าน ลบ.. มีน้ำใช้การได้ 106ล้าน ลบ.. หรือร้อยละ 11 ของน้ำใช้การได้ นับได้ว่าอยู่ในเกณฑ์น้อยมาก

กรมชลประทาน ได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับภาวะดังกล่าว ซึ่งปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ใน 4 เขื่อนหลัก จะส่งให้เฉพาะการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศเป็นหลัก ส่วนภาคการเกษตรจะบริหารจัดการน้ำท่าในแม่น้ำและลำน้ำสาขาต่างๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยหากเกษตรกรที่ได้ทำการเพาะปลูกนาปีไปแล้ว จะนำน้ำท่าจากแม่น้ำและลำคลองธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ้วยการทดน้ำ/อัดน้ำ หรือสูบน้ำช่วยเหลือ ส่วนเกษตรกรที่ยังไม่ได้ทำนาปี ได้ขอความร่วมมือให้เริ่มทำนาปีในช่วงหลังกลางเดือน .. 63 เป็นต้นไป หรือจนกว่าจะมีฝนตกชุกและมีปริมาณน้ำเพียงพอในพื้นที่ จึงค่อยทำการเพาะปลูก โดยกรมชลประทาน จะเน้นเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ให้ได้มากที่สุด เพื่อให้มีปริมาณน้ำสำรองไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งหน้าอย่างไม่ขาดแคลน