ชป. บริหารจัดการน้ำที่มีจำกัดอย่างเคร่งครัด หวังฝนตกมากขึ้นหลังกลาง ก.ค. นี้

0
7030

ปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่มีค่อนข้างน้อย เนื่องจากปริมาณฝนตกน้อย และบางพื้นที่ฝนตกท้ายเขื่อน ส่งผลให้ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯมีไม่มากนัก การบริหารจัดการน้ำและการระบายน้ำจึงต้องเป็นไปตามแผนที่วางไว้อย่างเคร่งครัด

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะโฆษกกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านระบบ VDO Conference ไปยังผู้แทนจากกรมอุตุนิยมวิทยา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมทรัพยากรน้ำ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสำนักงานชลประทานเครือข่าย SWOC ทั้ง 17 แห่งทั่วประเทศ เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำากพื้นที่ต่างๆ สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน

ทั้งนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์สภาพอากาศในช่วงวันที่ 12 – 14 .. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ในขณะที่มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ส่วนในช่วงวันที่ 15 – 18 .. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย จะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง

สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ปัจจุบัน(13 ก.ค. 63) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกันประมาณ 31,838 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯ เป็นน้ำใช้การได้ประมาณ 8,365 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีกกว่า 44,000 ล้าน ลบ.. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 7,545 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 849ล้าน ลบ.ม. ด้านผลการจัดสรรน้ำฤดูฝนทั้งประเทศปัจจุบัน (13 ก.ค. 63) มีการใช้น้ำไปแล้ว 5,481 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 46 ของแผนจัดสรรน้ำฯ เฉพาะในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำไปแล้ว 1,942
ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 60 ของแผนจัดสรรน้ำฯที่วางไว้ คงเหลือปริมาณน้ำที่ต้องจัดสรรอีก 1,308ล้าน ลบ.ม.

ส่วนผลการเพาะปลูกข้าวนาปี ล่าสุด(ข้อมูล ณ วันที่ 8 ก.ค. 63) ทั้งประเทศมีการทำนาปีไปแล้ว ประมาณ 6.97 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 41 ของแผนฯ(แผนวางไว้ 16.79 ล้านไร่) เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพาะปลูกไปแล้ว 2.62 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 32 ของแผนฯ(แผนวางไว้ 8.10 ล้านไร่)

สำหรับสถานการณ์ฝนตกน้อยในระยะนี้ ส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำบ้างเล็กน้อย ช่วง 7 วันที่ผ่านมา(7 13 ก.ค. 63)เขื่อนขนาดใหญ่ทั้ง 35 แห่งทั่วประเทศ มีปริมาน้ำไหลลงอ่างฯรวมประมาณ 330 ล้าน ลบ.ม. แยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 8 แห่ง มีน้ำไหลลงอ่างฯรวมประมาณ 114 ล้าน ลบ.ม.าคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 12 แห่ง มีน้ำไหลลงอ่างฯรวมประมาณ 33 ล้าน ลบ.ม. ภาคกลางมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 3 แห่ง มีน้ำไหลลงอ่างฯรวมประมาณ 2 ล้าน ลบ.. ภาคตะวันตก มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง มีน้ำไหลลงอ่างฯรวมประมาณ 84ล้าน ลบ.. ภาคตะวันออก มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 6 แห่ง ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯรวมประมาณ 28 ล้าน ลบ.ม. และภาคใต้ มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯรวม 68 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ มีการระบายน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ รวมกันประมาณ 444 ล้าน ลบ.ม.

กรมชลประทาน จะบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมเตรียมรับมือฤดูน้ำหลากที่กำลังจะมาถึง ฝนจะตกเพิ่มมากขึ้นจนใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยฝน 30 ปี ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม กันยายน  ซึ่งเป็นแนวโน้มที่ดี พร้อมกันนี้ยังได้เร่งดำเนินการกำจัดวัชพืชและผักตบชวาไม่ให้กีดขวางทางน้ำ จัดเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือประจำยังจุดเสี่ยงภัยต่างๆ ให้พร้อมใช้งานเสมอ รวมทั้ง ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำในแต่ละช่วงเวลาและการคาดการณ์ให้ประชาชนรับทราบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง เพื่อสามารถวางแผนเก็บกักและใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ  ทั้งนี้ หลังกลางเดือนกรกฎาคม หากมีฝนตกเพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยา ก็จะสามารถเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักได้มากพอสมควร และจะต้องเก็บกักน้ำในอ่างฯไว้ให้มากที่สุด เพื่อสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้งหน้า