วงจรการติดเชื้อโควิด-19 และการป้องกันโรค

0
11584
นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายถึงวงจรการติดเชื้อ ว่า โควิด-19 เป็นโรคที่ติดต่อจากคนสู่คน พอเรารับเชื่อไปแล้ว จะเข้าสู่ระยะฟักตัวของโรค โดยอยู่ที่ 7 วันหลังรับเชื้อ จากนั้นผู้ป่วยจะมีอาการ แต่ครั้งนี้ พบว่าคนไข้เกินครึ่งไม่มีอาการ แต่สามารถแพร่กระจายเชื้อได้ โดยมีส่วนน้อยที่ ป่วยหนักและเสียชีวิต คิดเป็นร้อยละ1 ขณะที่เมื่อหายแล้วจะมีภูมิคุมกันไม่แพร่เชื้อ

.
สำหรับคนที่มีเชื้อ หากสวมหน้ากากอนามัยฯ เชื้อจะอยู่ในหน้ากากอนามัย 100% ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก ถึงบอกให้ใส่หน้ากากอนามัยฯ

.
ตามปกติเชื้อจะกระจายในระยะ 1-2 เมตร การเว้นระยะห่างเกิน 1-2 เมตร จึงมีความจำเป็น ซึ่งโอกาสรับเชื้อจะต่ำมากหากทำตามมาตรการที่แนะนำ

.
ที่สำคัญในการลดการแพร่กระจายเชื้อ คือ ลดการเดินทางของคน ลดการทำกิจกรรมภายนอกจากคนหนึ่งสู่อีกคนหนึ่ง อันนี้คือ หลักการของคำเดิม ที่ใช้นั่นคือ ‘ล็อคดาวน์’ มาตรการล็อคดาวน์ วัตถุประสงค์หลักๆคือให้คนอยู่ห่างกันกิจกรรมน้อยลง เดินทางน้อยลง

“คนไหนถ้ามีเชื้อถ้าสวมหน้ากาก อนามัยฯ เชื้อจะติดอยู่ที่หน้ากากอนามัยฯ ไม่กระจายไปสู่คนที่2 โดยเฉพาะถ้าระยะห่างเกินกว่า1เมตร ก็จะยิ่งไม่แพร่เชื้อ”

.
หากคนที่มีเชื้อ ไอ จาม แล้วมาสัมผัสลูกบิด หรือสัมผัสตามที่ต่างๆ แล้วมีคนไปสัมผัสต่อ สามารถติดโรคได้ การล้างมือจึงสำคัญหลังไปหยิบจับพื้นสัมผัสสาธารณะร่วม

“มาตรการ สวมหน้ากากอนามัยฯ เว้นระยะห่าง ลดกิจกรรม ลดการเดินทาง จึงเป็นวิธีป้องกันแบบปฐมภูมิ ที่ถูกนำมาใช้กับประชชาชนในการป้องกันการแพร่เชื้อ ส่วน การแสกนหมอชนะ/ ไทยชนะ ของประชาชน ก็จะทำให้เจ้าหน้าที่รู้ว่าผู้สัมผัสไปอยู่ไหนบ้าง ง่ายต่อการสอบสวนโรค”

.
สิ่งที่เจ้าหน้าที่ทำ คือ การค้นหาผู้ป่วย ผู้สัมผัส หลังมีการติดเชื้อ เพื่อไม่ให้โรคแพร่ระบาด มีตรวจทางห้องปฏิบัติการ
.

เมื่อป่วยมีอาการหรือไม่มีอาการ ผู้ป่วยจะถูก นำเข้าระบบการรักษาทันที /ตรวจทางห้องปฏิบัติการ

.

จากนั้น เจ้าหน้าที่จะทำการ ค้นหาเชิงรุก ค้นหาผู้สัมผัสในแต่ละวงรอบ เพื่อนำเข้าสู่ระบบการรักษา

..โดย พรรษนันท์..