เฉลิมชัย ลงนามประกาศให้ ม้าลาย เป็นไปตามพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ป้องกัน”กาฬโรคม้า”แพร่แล้ว

0
6321

เฉลิมชัยฯรมว.ว่าการเกษตรฯสร้างความมั่นใจเรื่องการป้องกันและควบคุมโรคระบาดในสัตว์ได้ลงนามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้”ม้าลาย”เป็นไปตามพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ป้องกัน”กาฬโรคม้า”แพร่แล้ว ด้าน “อธิบดีกรมปศุสัตว์” สั่งเดินหน้าประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่องชะลอการนำเข้า-ส่งออก หรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์ หรือซากสัตว์ ประเภทม้า-ลา-ล่อ-อูฐ สรุปยอดม้าตายสะสม199ตัว ป่วย224ตัว

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงมาตรการควบคุมป้องกันโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า ว่า พบโรคในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี เพชรบุรี ชัยภูมิ และราชบุรี มีจำนวนสัตว์ป่วยสะสม 224 ตัว ตายสะสม 199 ตัว อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจประชากรสัตว์ (4 เมษายน 2563) มีจำนวนม้า 11,869 ตัว ในผู้เลี้ยงม้า 1,850 ราย โดยเลี้ยงม้ามากที่สุดในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา (1,790 ตัว) เพชรบุรี (826 ตัว) กรุงเทพมหานคร (740 ตัว) ราชบุรี (687 ตัว) และชลบุรี (567 ตัว)
สรุปข้อมูลจากการสอบสวนโรค คาดว่าเชื้อเข้ามาในพื้นที่ประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2563 โดยมีพายุฤดูร้อนเข้ามาช่วงกลางเดือนมีนาคม 2563 ทำให้มีแมลงจำนวนมาก ลมแรงช่วยทำให้แมลงบินได้ไกลเพิ่มขึ้น แมลงเป็นพาหะก่อโรค ทำให้ม้าป่วยตายพร้อมกันหลายฟาร์มในช่วงเวลาดังกล่าว ซึ่งการแพร่โรคในพื้นที่อาจเกิดจากการเคลื่อนย้ายม้าภายในพื้นที่ การใช้แหล่งน้ำร่วมกัน และมีรถขนส่งอาหารเข้าออกฟาร์มคันเดียวกัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการหาข้อมูลเพิ่มเติมโดยการสำรวจโรคในม้าลายในรัศมี 100 กม.รอบจุดเกิดโรค ทั้งนี้ ได้ออกประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง ชะลอการนาเข้า ส่งออก หรือ นำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์ หรือซากสัตว์ ประเภทม้า ลา ล่อ และอูฐ พ.ศ.2563 ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (African horse plague หรือ African horse sickness) ในท้องที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา กรมปศุสัตว์จึงได้ รายงานไปยังองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) ซึ่งโรคระบาดสัตว์ชนิดดังกล่าวสามารถแพร่กระจาย ไปอย่างกว้างขวางได้ โดยมีสาเหตุจากการนาสัตว์ป่วยหรือสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคหรือซากสัตว์ ซึ่งป่วยหรือตายด้วยโรคระบาดดังกล่าวไปยังท้องที่ต่างๆ และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โรคระบาดสัตว์ ชนิดดังกล่าวมีโอกาสแพร่กระจาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงม้า ลา ล่อ และอูฐ ในประเทศ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6และมาตรา31 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558อธิบดีกรมปศุสัตว์จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1.ให้ชะลอการนาเข้า ส่งออก หรือนาผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ประเภท ม้า ลา ล่อ และอูฐ ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง ข้อ 2.ประกาศฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ตนเองได้รับนโยบาย จากนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ให้ดูเรื่องนี้เป็นพิเศษ โดย ท่าน รมว.เกษตรฯ ได้มีการลงนามประกาศกระทรวงเกษตร และสหกรณ์ เรื่องกำหนดสัตว์ชนิดอื่นตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่8 เมษายน2563 ดังนั้น ต่อจากนี้ไปหากมีผู้ประสงค์จะนำเข้ามาลายเข้ามาราชอาณาจักร ต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่องการขอ อนุญาต การออกใบอนุญาต วิธีการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ พ.ศ. 2558 อีกด้วย ซึ่งมีรายละเอียดขั้นตอนตามแนบ อย่างเคร่งครัดเข้มงวดตามหลักการของระบาดวิทยาทางสัตวแพทย์ และองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ(OIE)ซึ่งยืนยันว่าไม่ทำให้เกิดโรคระบาดในสัตว์ที่นำเข้ามาอย่างแน่นอน