กรมชลฯ ย้ำ..จัดการน้ำตามแผน พร้อมแจ้งประชาชนรับทราบสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่อง

0
4869

กรมชลประทาน ย้ำถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศมีปริมาณน้ำในเกณฑ์น้อย ต้องบริหารจัดการตามแผนการใช้น้ำที่วางไว้อย่างเคร่งครัด พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์น้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ต่างๆ รับทราบถึงข้อเท็จจริงอย่างต่อเนื่อง 

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยพี่น้องประชาชนในหลายพื้นที่ที่กำลังประสบกับปัญหาภัยแล้ง ได้มอบหมายให้กรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ให้ประชาชนได้มีน้ำกินน้ำใช้อย่างเพียงพอตลอดฤดูแล้งนี้ พร้อมกับเร่งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ ให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้รับทราบอย่างทั่งถึง ตามนโยบายของพล..ประยุทธ์จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศว่า ปัจจุบัน(20 ม.ค. 63) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกัน 45,416 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 60 ของความจุเก็บกักรวมกัน โดยมีปริมาน้ำใช้การได้ 21,608 ล้าน ลบ.ม.หรือคิดเป็นร้อยละ 41 ของปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกัน 10,648 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 43ของความจุอ่างฯรวมกัน มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 3,952 ล้าน ลบ.ม.

สำหรับแผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งปี2562/2563 (ระหว่าง 1 .. 62 30 เม.. 63) เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในเขตชลประทาน มีปริมาณน้ำจัดสรรจากอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 17,699ล้าน ลบ.ม.(น้อยกว่าปีที่แล้วประมาณ 7,000 ล้าน ลบ.ม.)  เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก มีปริมาณน้ำจัดสรรรวมทั้งสิ้น 4,000 ล้าน ลบ.ม.(น้อยกว่าปีที่แล้ว 3,700 ล้าน ลบ.ม.) ด้านผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งทั้งประเทศ ปัจจุบัน 20 ม.ค. 63) มีการระบายน้ำตามแผนฯ ไปแล้วจำนวน 7,144 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 40 ของแผนจัดสรรน้ำฯ เฉพาะในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการระบายน้ำตามแผนฯไปแล้วจำนวน 2,222 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 56 ของแผนจัดสรรน้ำฯ

ทั้งนี้ ได้สั่งการโครงการชลประทานทุกแห่ง เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยแล้งอย่างต่อเนื่องด้วยการกำชับเจ้าหน้าที่ให้บริหารจัดการน้ำตามแผนที่วางไว้อย่างไรเคร่งครัด พร้อมทั้งร่วมบูรณาการการทำงานกับหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัด ในการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการจัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ ประจำไว้ตามจุดเสี่ยงภัยแล้งทั่วประเทศ ที่พร้อมจะเข้าไปสนับสนุนและให้การช่วยเหลือประชาชนได้ตลอดเวลา

จึงขอให้ทุกภาคส่วนร่วมแรงร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัดที่สุด เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด เพียงพอใช้ดื่มกินไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า