“ประหยัดน้ำทางรอดต้านแล้ง” กรมชลประทาน รณรงค์คนไทยประหยัดน้ำ เตรียมพร้อมก่อนเกิดวิกฤติภัยแล้ง

0
21336

กรมชลประทานขานรับนโยบาย พล..ประยุทธ์จันทร์โอชาแก้ปัญหาภัยแล้ง เปิดตัวโครงการประหยัดน้ำ ทางรอดต้านแล้งรณรงค์คนไทยประหยัดน้ำ เตรียมพร้อมก่อนภาวะวิกฤติภัยแล้ง ชูแนวคิด ประหยัดน้ำ=บริจาคน้ำนำเสนอผ่านเพลงและมิวสิควิดีโอ โดยศิลปินชั้นนำของเมืองไทย ว่านธนกฤตและ เปาวลี พรพิมลพร้อมเดินหน้าชู 8 มาตรการเตรียมพร้อมรับมือภัยแล้งปี 2564/65

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหน่วยงานที่มีภารกิจหลักด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ การบริหารจัดการน้ำ และการบรรเทาภัยอันเกิดจากน้ำ ได้ขานรับนโยบายแนวทางแก้ปัญหาภัยแล้งของประเทศไทยของ พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี ด้วยการจัดทำโครงการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ประหยัดน้ำ ทางรอดต้านแล้งโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ให้คนไทยประหยัดน้ำเพื่อชาติ นำเสนอภายใต้แนวคิด ประหยัดน้ำ เท่ากับบริจาคน้ำเตรียมความพร้อมทุกภาคส่วนให้ตระหนักถึงความสำคัญของการประหยัดทรัพยากรน้ำ ก่อนภาวะวิกฤติภัยแล้งจะมาถึง โดยกลุ่มเป้าหมายจะมุ่งเน้นไปที่ กลุ่มเกษตรกร นักเรียนนักศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยการรณรงค์จะนำเสนอผ่านเพลงและมิวสิควิดีโอเพลง Save Water หรือ เพลง ประหยัดน้ำ โดยศิลปินชั้นนำของเมืองไทย ว่าน ธนกฤตและ เปาวลี พรพิมลซึ่งนับเป็นครั้งแรกในการรวมตัวเฉพาะกิจต้านภัยแล้งนำมาผสมกับดนตรีสมัยใหม่ฟังง่าย เข้าใจง่าย เพื่อให้คนไทยตระหนักถึงปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น โดยสามารถรับฟังผ่าน Music Streaming ทุกช่องทาง

ผมเชื่อว่าเพลงคือ ภาษาสากลเราสามารถใช้บทเพลงถ่ายทอดเรื่องราวได้ดีกว่าการพูด สามารถสร้างการจดจำได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเราได้นักร้อง นักแต่งเพลง อย่างคุณเอก Season Five มาถ่ายทอดเรื่องราวที่กรมชลประทานอยากจะบอกทุกคน อยากให้ฟังแล้ว ตระหนักถึง ปริมาณน้ำและ การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ผลลัพธ์ส่วนบุคคลจะกลายเป็นผลลัพธ์เพื่อชาติ ประโยชน์ไม่ได้เกิดแค่กับใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการประหยัดน้ำเราทำเพื่อคนไทยทั้งประเทศ

นอกจากนี้ยังได้มีการจัดทำคอนเทนต์ผ่านสื่อโซเชียลมีเดียของกรมชลประทาน ทั้งในรูปแบบของการรายงานสถานการณ์น้ำ รูปแบบการบริหารจัดการน้ำแนวทางในการประหยัดน้ำ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้เกิดความเข้าใจ และเกิดการแชร์ต่อในวงกว้าง

อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวต่อว่า สำหรับแนวทางด้านการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งปี 2564/65 กรมชลประทาน ได้ดำเนินการตามมาตรการการบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งปี 2564/65 ทั้ง 8 มาตรการได้แก่

มาตรการที่ 1 เร่งเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝน เพื่อเป็นน้ำต้นทุนในช่วงฤดูแล้ง

มาตรการที่ 2 จัดหาแหล่งน้ำสำรองในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ พร้อมทั้งสํารวจ ตรวจสอบ พื้นที่ที่มีศักยภาพ ที่จะพัฒนาเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำรองได้

มาตรการที่ 3 กําหนดการจัดสรรน้ำฤดูแล้ง รวมทั้งติดตามกํากับให้เป็นไปตามแผนเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค พร้อมจัดทําทะเบียนผู้ใช้น้ำ

มาตรการที่ 4 วางแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง รวมถึงส่งเสริมสนับสนุนการเพาะปลูกในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเป็นอันดับแรก

มาตรการที่ 5 เตรียมน้ำสํารองสําหรับพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อสนับสนุนน้ำเตรียมแปลง

มาตรการที่ 6 เฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำสายหลักสายรอง และเตรียมแผนรองรับกรณีเกิดปัญหา

มาตรการที่ 7 ติดตามประเมินผล เพื่อให้ผลการดําเนินงานเป็นไปตามแผน

มาตรการที่ 8 สร้างการรับรู้สถานการณ์น้ำและแผนบริหารจัดการน้ำ ให้ทุกภาคส่วน เกิดความร่วมมือในการใช้น้ำอย่างประหยัดและเป็นไปตามแผนที่กําหนดไว้

นอกจากนี้ยังได้มีการกำหนดแผนจัดสรรน้ำจากโครงการชลประทานขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศในช่วง ฤดูแล้งปี 2564/65 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 30 เมษายน 2565

จากปริมาณน้ำต้นทุนทั่วประเทศ วันที่ 1 พฤศจิกายน2564 จํานวน 37,857 ล้าน ลบ.. วางแผนจัดสรรน้ำจํานวน 22,280 ล้าน ลบ.. (สํารองน้ำต้นฤดูฝนปี2565 รวม 15,577 ล้าน ลบ..) โดยจัดลําดับความสําคัญ ตามกิจกรรม ดังนี้ การอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศและอื่นๆ การเกษตรฤดูแล้ง และอุตสาหกรรม โดยมีแผนการเพาะปลูกข้าวนาปรัง จํานวน 6.41 ล้านไร่

อย่างไรก็ตาม ขอให้ประชาชนตระหนักถึงสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น และร่วมแรงร่วมใจกันประหยัดน้ำ ใช้ทรัพยากรน้ำให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด ทั้งนี้ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสอบถามได้ที่สำนักงานชลประทานในพื้นที่ หรือโทรสายด่วนกรมชลประทาน 1460