สทนช. ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เตรียมรับมือภัยแล้งปี 63

0
1822
สทนช. ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต เตรียมรับมือภัยแล้งปี 63 หลังพบ 3 อ่างเก็บน้ำในพื้นที่มีปริมาณน้ำน้อยต่อเนื่อง หวั่นกระทบน้ำกินน้ำใช้ เสี่ยงแล้งลามกระทบน้ำในอนาคต วอนประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวภายหลังการประชุมจัดทำแผนจัดการน้ำต้นทุน และแผนปฏิบัติการปี 2563-2564 จังหวัดภูเก็ต ร่วมกับ  นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายปัญญา ใจสมุทร ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินภูเก็ต ผู้แทนจากการประปาส่วนภูมิภาคจ.ภูเก็ต และผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ณ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ตหลังเก่า อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต ว่า นายกรัฐมนตรีได้มีข้อห่วงใยถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต รวมทั้งได้สั่งการในการลงพื้นที่ตรวจราชการเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2562 ให้ สทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจั ทำ จั หา ล่ น้ำแ ป้ กั อุทกภัยในพื้นที่เมืองเศรษฐกิจที่สำคัญทั่วประเทศ พร้อมทั้งจัดลำดับความสำคัญในจังหวัดต่างๆ เช่น ภูเก็ต ขอนแก่น และเชียงใหม่ เป็นต้น ทั้งในแผน ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยบูรณาการหน่วยงานภาครัฐ ท้องถิ่น และภาคเอกชน เพื่อการแก้ไขปัญหาทั้งระบบ ทั้งนี้ ให้บรรจุแผนปฏิบัติการโดยเร็ว

โดยสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต พบว่าปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 28 ตุลาคม 2562) มีปริมาณน้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำทั้ง 3 แห่ง รวมประมาณ 5 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น อ่างเก็บน้ำคลองกะทะ 1.75 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 40.5 ของความจุ 4.32 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำบางวาด 2.60 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 25.5 ของความจุ 10.20 ล้าน ลบ.ม. และอ่างเก็บน้ำบางเหนียวดำ 0.65 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 9 ของความจุ 7.20 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำสำหรับใช้ในการผลิตน้ำประปา เพื่อการอุปโภคบริโภคของจังหวัดภูเก็ต มีปริมาณน้ำในอ่างเหลือน้อย รวมทั้งน้ำในขุมเหมือง จำนวน 109 แห่ง มีความจุรวมเหลือเพียง 21.03 ล้าน ลบ.ม. เนื่องจากประสบสภาวะฝนทิ้งช่วง อีกทั้งปริมาณฝนมีน้อย ถึงแม้ช่วงที่ผ่านมาจะมีปริมาณฝนตกในหลายพื้นที่ แต่ปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างมีไม่มากนัก อาจจะไม่เพียงพอในช่วงฤดูแล้งที่จะมาถึง เนื่องจากในพื้นที่มีความต้องการใช้น้ำอุปโภคบริโภคเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องวางแผนการใช้น้ำอย่างรอบด้าน เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ปี 2563 และในอนาคต โดยประชากรในพื้นที่กว่าร้อยละ 80 ใช้น้ำจากประปา ทั้งนี้ในพื้นที่มีปริมาณความต้องการน้ำอุปโภคบริโภคเฉลี่ย 220,000 ลบ.ม.ต่อวัน 80 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี กำลังผลิตอยู่ที่ 188,000 ลบ.ม.ต่อวัน 65 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี ซึ่งยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการ จำเป็นต้องพัฒนาแหล่งน้ำเพิ่มเติมหรือซื้อน้ำประปาเอกชน

จังหวัดภูเก็ตเป็นพื้นที่เป้าหมายที่คาดว่าจะเสี่ยงภัยแล้ง แม้ว่าจะมีปริมาณฝนตกมากก็ตาม โดยท่านนายกรัฐมนตรีได้กำชับให้มีการเตรียมการป้องกันภัยแล้งในระยะยาว รวมทั้งฤดูแล้งที่จะถึงนี้ด้วย โดยการประชุมสรุป 2 ประเด็น คือ

ประเด็นแรกจะแก้แล้งนี้ได้อย่างไร โดยเรามีน้ำต้นทุนที่คาดว่าจะเพียงพอในการผลิตน้ำประปา แต่ยังขาดโครงข่ายน้ำและความเชื่อมโยงที่จะนำน้ำมาใช้ จึงต้องกลับไปหาแนวทางที่จะดำเนินการ โดยมอบให้กปภ./เทศบาล/ประปาท้องถิ่นไปสำรวจเพิ่มเติม นอกจากนี้ ยังมีน้ำผิวดินหรือน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ลำห้วย คลอง สามารถนำมาใช้ได้ก่อน รวมทั้งการใช้น้ำจากแหล่งน้ำบาดาลมาเสริม ส่วนปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำจะสำรองไว้ใช้ในกรณีที่เกิดเหตุจำเป็นจริงๆ และให้กปภ./เทศบาล/ชป.ดำเนินการตามแผนจัดการน้ำต้นทุนและการใช้น้ำรายเดือนอย่างเคร่งครัด รวมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด

ประเด็นที่ 2 ในการจัดทำแผนหลักตามพ...น้ำ ระบุว่าจะต้องจัดทำแผนปฏิบัติการ 5 ปี(พ.ศ.2561-2565) ซึ่งเราได้แผนงาน/โครงการจากหลายหน่วยงานแล้ว แต่ยังขาดอีกบางหน่วยงาน จึงต้องให้ทางผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ตบูรณาการแผนงานอีกครั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจนเป็นรูปธรรมและตอบสนองต่อความต้องการของทุกภาคส่วนของจังหวัดภูเก็ตอย่างแท้จริงเลขาธิการ สทนช. กล่าว

.

ทั้งนี้ ังหวัดภูเก็ต มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปี 450 ล้าน ต่อ ลบ.ม. มีแหล่งน้ำในพื้นที่ความจุรวม 43.5 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 3 แห่ง ความจุรวม 21.7 ล้าน ลบ.ม. แหล่งน้ำขนาดเล็ก 184 แห่ง ความจุรวม 20.4 ล้าน ลบ.ม. และขุมเหมือง 7 แห่ง ความจุรวม 1.44 ล้าน ลบ.ม. โดยปัจจุบันมีความต้องการใช้น้ำ 60.2 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็นน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการท่องเที่ยวรวม 33.1 ล้าน ลบ.ม. น้ำเพื่อภาคอุตสาหกรรม 25.6 ล้าน ลบ.ม. และน้ำเพื่อการเกษตร 1.5 ล้าน ลบ.ม. โดยเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค และปัญหาการระบายน้ำ ในส่วนแผนงานและโครงการสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งของจังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)สาขาพังงา-ภูเก็ต วงเงินรวม 3,870 ล้านบาท งบประมาณปี 64 โดยครม.มีมติเห็นชอบในหลักการเมื่อวันที่ 17 ก.ย. 62 ที่ผ่านมา แบ่งเป็น แผนงานก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ.สาขาพังงา-ภูเก็ต (ระยะที่1-2) วงเงิน 3,517.785 ล้านบาท งบประมาณปี 2564 และแผนการบริหารจัดการลดน้ำสูญเสีย กปภ.สาขาภูเก็ต วงเงิน 353.123 ล้านบาท งบประมาณปี 2567 โดยใช้แหล่งน้ำดิบจากคลองพังงา (กปภ. ขอรับจัดสรรน้ำ 49 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี) และสระพักน้ำดิบเดิมและสระใหม่ของ กปภ. (ความจุรวม 1.4 ล้าน ลบ.ม.) สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ 120,000 ลบ.ม./วัน (รวมเป็น 232,200 ลบ.ม./วัน) เฉลี่ย 84.75 ล้าน ลบ.ม. ต่อปี นอกจากนี้ ยังมีแผนงานโครงการสำคัญอื่นๆ ที่จำเป็ต้องดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพิ่มเติม อาทิ การพัฒนาแหล่งน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลมาใช้ประโยชน์ การบำบัดน้ำเสียผลิตน้ำประปา การพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ การพัฒนาแก้มลิง การพัฒนาแหล่งน้ำจากขุมเหมืองและแอ่งเก็บน้ำใต้ดิน เป็นต้น

 

#AllnewsExpress