สธ. เผย ยอดผู้ติดเชื้อเพิ่ม141 ราย รวมยอดสะสม 689 ราย

0
10592

กระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์ พบเพิ่มผู้ติดเชื้อโควิด เชื่อมโยงตลาดกลางกุ้ง เพิ่มเมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา 141 คน ทำให้ยอดสะสมขณะนี้ เท่ากับ 689 คน  นอกจากนี้ ยังพบว่า พบผู้ป่วยเพิ่มเติมที่เชื่อมโยงกันกระจายไปตามพื้นที่จังหวัดต่างๆด้วย  ขณะที่ อธิบดีกรมควบคุมโรค ยืนยัน ยังสามารถรับประทานอาหารทะเลได้ แต่เน้นให้กินสุกร้อน 

ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กระทรวงสาธารณสุข  นพ. เกียรติ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค  และ นพ. กิตติ  กรรภิรมย์ ผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่5  พร้อมด้วย แถลงสถานการณ์ความคืบหน้า สถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19  ว่า ตอนนี้

นพ. เกียรติ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ระบุว่า  วันนี้ ถือว่า เป็นการติดเชื้อมากที่สุดของประเทศไทย โดยกรณี สมุทรสาคร เริ่มพบผู้ติดเชื้อตั้งแต่17 ธันวาคม คือหญิงไทย อายุ67ปี  ซึ่งรายนี้ไม่ได้เป็นผู้นำเชื้อ ไม่ใช่ต้นเชื้อรายแรก แสดงว่ามีเชื้อจากที่อื่น  ทางทีมสอบสวนโรค พยายามค้นหาต้นต่อเชื้อ และสาเหตุการติดเชื้อ  สันนิษฐานว่า อาจจะมาจาก แรงงานเมียนมาในพื้นที่  ที่เกี่ยวข้องกับผู้ติดเชื้อรายนี้   จาการค้นหาสอบสวนโรค พบว่า ที่ตลาดกลางกุ้ง เป็นแหล่งที่มีแรงงานเมียนมาจำนวนมาก ตรวจค้นหาเชิงรุก พบว่า ร้อยละ90 ผู้ติดเชื้อเป็นแรงงานเมียนมา ร้อยละ10 เป็นคนไทยและ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ ซึ่งการ พบไม่อาการนั้น  สามารถแพร่สู่ผู้อื่นได้ง่าย ที่พักค่อยข้างแออัด วิถีชีวิต มักอยู่ด้วยกัน

ยอมรับ เป็นนการแพร่ระบาดรอบใหม่ของไทย เป็นการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง

สำหรับมาตรการตอนนี้ ทางสาธารณสุขและควบคุมโรค คือกาค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก นอกจากตรวจในพื้นทีทจังหวัดสมุทรสาครแล้ว ยังมีการเพิ่มการตรวจ พื้นที้โดยรอบ ตั้งเป้า30,000-40,000 ราย โดยเบื้องต้น จะตรวจ10,000 รายก่อน

อย่างไรก็ตาม แนวทางในการคุมโรค จะพยายามควบคุมโรค  ให้อยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร โดยเฉพาะตลาดกลางกุ้ง  ที่มีการปิดเฉพาะพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดรุนแรง   ซึ่งจะควบคุมให้อยู่ในพื้นที่การแพร่ระบาดไม่ให้หลุดออกมาด้านนอกพื้นที่ เมื่อพ้นระยะเวลาในการเฝ้าระวัง  คาดว่าเชื้อจะหายไป ส่วนเคสเล็กๆที่หลุดออกไปแล้ว ก็จะตามติดตาม ควบคุมให้เข้าสู่ระบบ  หาก1 สัปดาห์  ในจังหวัดสมุทรสาคร พบการแพร่เชื้อไม่มาก  ยอดผู้ติดเชื้อก็จะค่อยๆลดลง ภายใน2-4 สัปดาห์

รวมถึงมีการตรวจเชื้อ เฝ้าระวังผู้ป่วยโรคปอดอักเสบทุกราย มีการเตรียมอุปกรณ์ทางกาแพทย์ เวชภัณฑ์ยา ไว้พร้อม ซึ่งสามารถดูแลรักษาผู้ป่วยได้กว่า1 เดือน

ซึ่งมาตรการควบคุมโรคจากภาครัฐ จะต้องเองทำควบคู่กับมาตรการทางด้านสาธารณสุข ที่ประชาชนต้องให้ความร่วมมือ

ด้านนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค  ระบุว่า จากการสอบสวนโรค พบว่า มีการขยาวงของผู้ติดเชื้อ  มีความเกี่ยวเนื่องจาก ตลาดกลางกุ้ง ไปยังจังหวัดใกล้เคียง คือ นครปฐม 2 ราย สุพรรณบุรี1ราย  ราชบุรี1ราย   กทม. 2 ราย  สมุทรปราการ 3 ราย และจังหวัดอื่นๆ ซึ่งยอดผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นเนื่องมีการตรวจเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง

ขณะนี้ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร  ตรวจไปแล้ว 1443 ราน ในช่วงบ่ายที่ผ่านมา ผลตรวจเชื้อเพิ่มอีก 141 ราย ทำให้ยอดสะสมขณะนี้ เท่ากับ 689 ราย

สำหรับมาตรการตอนนี้ ทางสาธารณสุขและควบคุมโรค คือกาค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก นอกจากตรวจในพื้นทีทจังหวัดสมุทรสาครแล้ว ยังมีการเพิ่มการตรวจ พื้นที้โดยรอบ ตั้งเป้า30,000-40,000 ราย โดยเบื้องต้น จะตรวจ10,000 รายก่อน

อย่างไรก็ตาม แนวทางในการคุมโรค จะพยายามควบคุมโรค  ให้อยู่ในจังหวัดสมุทรสาคร โดยเฉพาะตลาดกลางกุ้ง  มีการปิดเฉพาะพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดรุนแรง   ซึ่งจะควบคุมให้อยู่ในพื้นที่การแพร่ระบาดไม่ให้หลุดออกมาด้านนอกพื้นที่ เมื่อพ้นระยะเวลา คาดว่าเชื้อก็จะหายไป

ย้ำผู้สื่อข่าว หรือประชาชน ที่ลงพื้นที่บริเวณ ใกล้เคียง กลับมาไม่จำเป็นต้องกักตัว แต่ให้มาพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อประเมินความเสี่ยงและตรวจหาเชื้อทันที

ส่วนเรื่องการปนเปื้อนเชื้อในอาหารทะเล หรือ อาหารแช่แข็งนั้น  อธิบดีกรมควบคุมโรค ระบุว่า เบื้องต้นเป็นการรายงานจากต่างประเทศเท่านั้น เช่นการปนเปื้อนเชื้อ ในปลาแซลมอนที่ประเทศนอร์เวย์ ซึ่งการตรวจพบนั้นเป็นการตรวจพบสารพันธุกรรมบนอาหารชนิดนั้น ไม่ได้แปลว่าสารพันธุกรรมนั้นจะสามารถถ่ายทอดให้กับผู้อื่นได้

ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจน ว่าคนที่กินอาหารปนเปื้อนเชื้อ covid19 จะติดเชื้อแต่อย่างใดแต่อย่างไรก็ตาม การรับประทานอาหารที่สุกอนามัยปรุงสุกร้อ นและสะอาดก็จะไม่รับเชื้อ

เน้นย้ำ ประชาชนยังสามารถรับประทานอาหารทะเลหรืออาหารแช่แข็งได้ ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีการรายงานการพบเชื้อ covid19 ในอาหาร

ด้าน นพ. กิตติ  กรรภิรมย์ ผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่5  ระบุว่า  มาตรการการรองรับสาธารณสุขในพื้นที่   มีการเตรียมพร้อมใน8 จังหวัด  มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน  ส่วนเรื่องเตียงมีความเพียงพอ เบื้องต้นมีประมาณ 1,000 เตียง  โดยจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด  ตอนนี้อยู่รพ. 30 ราย ส่วนผู้ติดเชื้อรายอื่นให้เฝ้าระวังอาการที่พักเนื่องจาก ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ