‘เฉลิมชัย-มนัญญา’ ป่วยพร้อมกัน​ หลังม็อบหนุน-ต้านสารเคมีบุกกระทรวง​เกษตรฯ

2​ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ป่วยพร้อมกันกระทันหัน​ หลังเจอม็อบหนุน​-ต้านสารเคมี​ บุกกระทรวง​ ด้านกลุ่มหนุนเตรียมฟ้อง​ศาลปกครอง​ ถอดถอนมติคณะกรรมการขับเคลื่อนการใช้สารเคมีที่มีความเสี่ยงสูง ป้องกันการจำกัดศัตรูพืช​ 22​ ตุลาคม​ นี้​ ขณะที่กลุ่มสนับสนุนการแบนสารเคมี เรียกร้อง คณะกรรมการวัตถุอันตราย

0
1655

2​ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ป่วยพร้อมกันกระทันหัน​ หลังเจอม็อบหนุน​-ต้านสารเคมี​ บุกกระทรวง​ ด้านกลุ่มหนุนเตรียมฟ้อง​ศาลปกครอง​ ถอดถอนมติคณะกรรมการขับเคลื่อนการใช้สารเคมีที่มีความเสี่ยงสูง ป้องกันการจำกัดศัตรูพืช​ 22​ ตุลาคม​ นี้​ ขณะที่กลุ่มสนับสนุนการแบนสารเคมี เรียกร้อง คณะกรรมการวัตถุอันตราย

บรรยากาศห้องประชุม​กระทรวงเกษตรและ​สหกรณ์​ วุ่นวายเล็กน้อย​ ระหว่างเครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษที่มีอันตรายร้ายแรง 686 องค์กร​ ที่รอพบ​ นายเฉลิมชัย​ ศรีอ่อน​ รัฐมนตรี​ว่าการกระทรวง​เกษตร​และ​สหกรณ์​  โดยกลุ่มเกษตรกร จากจังหวัดราชบุรี และปทุมธานี ที่สนับสนุนการใช้3 สารเคมี ได้เดินเข้ามายังห้องประชุมโดยไม่ได้บอกกล่าว​ ขณะที่​ นายเฉลิมชัย​ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีอาการปวดหัว วูบ กระทันหัน​ ต้องยกเลิกนัด​ โดยส่ง นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาแทน​

.

เช่นเดียวกับ​ นางสาวมนัญญา​ ไทย​เศรษฐ์​ ที่เดิมจะมาพบเครือข่ายแบนสารเคมี​ ก็เกิดป่วยกระทัน​หัน​เช่นเดียวกัน​

.

บรรยากาศในห้องประชุมได้มีการโต้เถียง จาก2 กลุ่ม ถึง การแบน3 สารเคมี ทำให้ต้องมีการเชิญออกนอกห้อง เพื่อนัดวันเวลาเข้าพูดคุยกับ นาย เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ใหม่อีกครั้ง

โดยนางอัญชุลี ลักษณ์อำนวยพร ประธานชมรมกลุ่มคนรักแม่กลอง บอกว่า​ ไม่เห็นด้วยกับมติของคณะทำงาน 4 ฝ่าย ที่ประชุมลงมติกันเมื่อ 2 วันก่อน​ และขอความเป็นธรรมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ฟังข้อมูลอีกด้านของเกษตรกร เนื่องจาก เกษตรกรบางราย ใช้ พาราควอต ซึ่งเป็นสารฆ่าหญ้า มากว่า10 ปี แล้วไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด รวมถึง 3 สารยังมีต้นทุนต่ำ และหากให้ใช้สารอื่นทดแทน ควรชี้แจ้งกับเกษตรกรโดยเร็ว และเรียกร้องให้ กลุ่มนักวิชาการต่างๆ เช่น ไบโอไทย เปิดเผยข้อมูลว่า 3 สารนั้น ส่งผลกระทบกับสุขภาพ อย่างไรบ้าง

นางอัญชุลี ระบุว่า การลงมติดังกล่าว ไม่ได้เป็นการรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย พร้อมยืนยันว่า ผลการตรวจสอบไม่มีพาราควอต และ ไกลไฟเซต​ ที่เป็นยาฆ่าหญ้า ตกค้างในผัก โดยให้เหตุผลที่ต้องการใช้สารเคมี เนื่องจากเห็นว่า เป็นต้นทุนที่ประหยัด หากเปรียบกับการใช้สารเคมีตัวอื่น ปัจจุบัน ญี่ปุ่น สหรัฐ มาเลเซีย ไม่ได้แบนสารพาราควอตแล้ว โดยในวันที่​ 22 ตุลาคมนี้ จะยื่นศาลปกครอง ฟ้องกระทรวงสาธารณสุข ถอดถอนมติคณะกรรมการขับเคลื่อนการใช้สารเคมีที่มีความเสี่ยงสูง ป้องกันการจำกัดศัตรูพืช

.

ด้านนาย​วิ​ฑูรย์​ เลี่ยนจำรู​ญ​ ผู้อำนวยการมูลนิธิ​ไบโอไท​ ระบุว่า การแบน 3 สารเคมีเกษตรไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะมีมูลค่าในตลาดกว่า 200 ล้านบาทแต่ก็ไม่ได้เห็นการขับเคลื่อนของรัฐมนตรีหลายกระทรวงอย่างเป็นระบบ โดยที่มาเข้าพบในวันนี้ต้องการให้ดำเนินการแบนสารเคมีตามระยะเวลาที่กำหนดหรือนั่นคือสิ้นปีและให้คณะกรรมการวัตถุอันตรายลง มติอย่างเปิดเผย

อย่างไรก็ตามทางเครือข่ายคำนึงถึงเกษตรกรทุกกลุ่ม โดยมีเกษตรกร 4 แสนคน หรือคิดเป็น ร้อยละ 6 ที่ลงชื่อเป็นเกษตรอินทรีย์ ​ ซึ่งอยู่ในวิสัยที่กระทรวงเกษตรจะแบนสารเคมีได้ พร้อมทั้งผลักดันพระราชบัญญัติเกษตรกรรมยั่งยืน ซึ่งจะมีการจัดตั้งสถาบันเกษตรอินทรีย์เพื่อขับเคลื่อนเรื่องอาหารปลอดภัยอย่างกว้างขวางรวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือการรับประกันสิทธิ์ผู้บริโภค เช่นพระราชบัญญัติความปลอดภัยอันเนื่องมาจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

.

ขณะที่ นายอลงกรณ์​ พลบุตร​ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ระบุว่า พรรคประชาธิปัตย์สนับสนุนการทำเกษตรยั่งยืน เน้นหลักให้ผู้บริโภคมีสุขภาพดีได้กินอาหารปลอดภัย​ ทั้งนี้ในส่วนของสารทดแทน​ กรมวิชาการเกษตรได้มีบัญชีรายชื่อของสารที่จะนำมาใช้ทดแทนแล้ว โดยตนจะผลักดันพระราชบัญญัติเกษตรยั่งยืนในสภาต่อไป

#AllnewsExpress