กรมวิทย์ฯ เผย ตรวจหาเชื้อ วันละกว่า 5,000 ตัวอย่าง ย้ำ!! หากไม่ป่วย ไม่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค ตรวจไปก็เปล่าประโยชน์

0
5752

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ย้ำ หากไม่ป่วย ไม่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค ตรวจไปก็เปล่าประโยชน์ และการตรวจเชื้อจำนวนมากไม่ได้ช่วยในการควบคุมโรค แต่สิ่งสำคัญต้องตรวจให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย พร้อมขยายห้องปฏิบัติการให้ได้ 40 แห่ง และเตรียมขยายเพิ่มให้ได้ 100 แห่งทั่วประเทศ

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุ ในปัจจุบัน มี3 ประเภทในการตรวจหาเชื้อ คือ ตรวจหาเชื้อ /ตรวจหาภูมิคุ้มกัน / และตรวจหาเชื้ออื่นๆ ส่วนใหญ่ ในโควิด-19 ในหลายๆประเทศ จะเป็นการตรวจหาเชื้อทางเดินหายใจเป็นหลัก
เช่น การนำตัวอย่างเชื้อ บริเวณคอ เยื้อบุจมูก หลังคอ คอหอย / ถ้าเชื้อลงปอด ก็ต้องตรวจเชื้อ ซึ่งการตรวจหาเชื้อในแต่ละครั้ง ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการตรวจ

ขณะที่การตรวจด้วยเลือด (Rapid test ) เริ่มเป็นที่นิยมในปัจจุบัน โดยเป็น การตรวจหาระดับภูมิคุ้มกัน หลังจากเริ่มมีอาการ5-7 วัน แต่ส่วนใหญ่เชื้อจะไม่ได้อยู่ที่เลือด / ส่วนการตรวจเชื้อแบบไดรฟ์ทรู ต้องระวัง เนื่องจากการเก็บเชื้ออาจปนเปื่อนกับสิ่งแวดล้อมได้ คนที่เก็บตัวอย่างเชื้อ และคนที่จะส่งตัวอย่างเชื้อจะต้องมีการใส่ป้องกันอย่างดี

สำหรับการตรวจหาเชื้อจากห้องปฏิบัติการ เพื่อเอาไว้วินิจฉัย ในการรักษาโรค ตรวจหาเชื้อทางเดินหายใจ ใช้ติดตามการรักษา เป็นประโยนช์ในการเฝ้าระวังโรค เป็นข้อมูลทางระบาดรักษา

ซึ่งในช่วงฟักตัว14 วัน ผลตรวจจากห้องปฏิบัติการ จะเป็นส่วนสำคัญในการนำไปสู่การรักษาผู้ป่วยแต่ข้อจำกัดของการตรวจเชื้อ ส่วนใหญ่ ต้องเริ่มมีอาการก่อนถึงจะเจอเชื้อ โดยเมื่อมีอาการป่วยเข้าข่ายสอบสวนโรค จะตรวจเจอเชื้อเกือบ100%

โดย ย้ำว่า การตรวจผลจากห้องปฏิบัติการ หากผลเป็นลบ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ติดเชื้อ เนื่องจากยังอยู่ในช่วงระยะฟักตัว14 วัน

.

ทั้งนี้ การตรวจเชื้อมากหรือน้อย ไม่ใช่ปัจจัยหลักในการควบคุมโรค ซึ่งการตรวจหาเชื้อที่สำคัญคือ การตรวจให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย ที่สำคัญ ที่ต้องเร่งดำเนินการ คือทำอย่างไรให้กลุ่มเป้าหมายได้มีการตรวจให้ได้มากที่สุด

ในการตรวจเชื้อ ผลตรวจจากห้องปฏิบัติการ 2 แห่ง จะต้องยืนยันตรงกัน รวมถึงจะต้องพิจารณาข้อมูลอาการป่วย จากผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การสอบสวนโรค / ประวัติการเดินทางจากพื้นที่เสี่ยง การสัมผัส จากนั้นจะนำ ข้อมูลทั้งหมด เข้าคณะผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัส ด้านระบาดวิทยา และด้านคลีนิค พิจารณาร่วมกัน

ด้าน ดร. พิไลลักษณ์ โอกาดะ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ ระบุว่าสำหรับขั้นตอนการตรวจหาเชื้อโควิด-19 กรมควบคุมโรค จะทำการส่งตัวอย่าง ผู้สงสัยติดเชื้อที่เข้าเกณฑ์คัดกรอง เพื่อมาตรวจยังห้องปฏิบัติการ

จากนั้น เจ้าหน้าที่จะทำการสกัดหาสารรหัสพันธุกรรมของตัวอย่างเชื้อ และตรวจตัวอย่างเชื้อผ่านชุดน้ำยาทดสอบ หาก พบว่า เป็นเชื้อโควิด กราฟเส้นสีแดงจะปรากฏบนหน้าจอ

ซึ่งการตรวจวิเคราะห์สารพันธุกรรม ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ทำด้วยเทคนิค เรียลไทม์ RT-PCR ใช้เวลาตรวจวิเคราะห์และรู้ผลภายใน 3 ชั่วโมง

ปัจจุบัน การตรวจหาเชื้อในห้องปฏิบัติการ กรมวิทย์ฯ มีประมาณวันละ 4,000-5,000 ราย สำหรับต้นทุนในการตรวจห้องปฏิบัติการ ประมาณ 2,500 บาท แบ่งเป็น ค่าน้ำยาในการเพิ่มปริมาณของเชื้อ / น้ำยาสกัดเชื้อ

.
ทาง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ย้ำ หากไม่มีอาการ ถึงตรวจก็ไม่พบเชื้อ คำแนะนำการตรวจหาเชื้อ ถ้าอยู่ในกลุ่มผู้ป่วยสอบสวนโรค หรือ PUI คือ กลุ่มเสี่ยง ที่มีประวัติเดินทางกลับจากต่างประเทศ สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางจากประเทศเสี่ยงระบาด ทำงานใกล้ชิดกับกลุ่มเสี่ยง ให้รีบไปตรวจที่โรงพยาบาล ตรวจฟรี หากไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงไม่แนะนำให้ตรวจ แต่ให้เฝ้าระวังตัวเองสังเกตอาการ14วัน

และในเบื้องต้น การตรวจหาเชื้อ ในกลุ่มผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค ตรวจฟรีไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากไม่มีอาการ ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงที่เฝ้าระวัง แล้วอยากตรวจเพื่อความสบายใจ อาจมีค่าใช้จ่าย

ส่วนการรับรองชุดตรวจโควิด-19 ของเอกชน และสถาบันการศึกษา ขณะนี้รับรองไปแล้ว 5 ราย และจะทยอยรับรองอีกไม่เกิน 2 สัปดาห์นี้ แต่ที่ผ่านมาหลายแหงที่มาขอยื่นรับรองตรวจแล้วก็ไม่ผ่านมาตรฐาน